การจัดทำใบกำกับภาษีตามกฎหมาย

โดย

 


 
การจัดทำใบกำกับภาษีตามกฎหมาย


     “ใบกำกับภาษี” เป็นเอกสารที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการได้ขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีได้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการ (ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้จะมีการขายสินค้าหรือให้บริการก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี)

     กฎหมายได้กำหนดเรื่องการจัดทำใบกำกับภาษีไว้ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ดังนี้
     “ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ส่วนสำเนาใบกำกับภาษีให้เก็บรักษาไว้ตามมาตรา 87/3”
     หน้าที่การจัดทำใบกำกับภาษีจึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าต้องจัดทำใบกำกับภาษีในทันทีเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น กฎหมายก็ได้กำหนดไว้แต่ละประเภทของความรับผิดฯ เช่น
     กรณีการขายสินค้าตามมาตรา 78 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดว่า
     มาตรา 78 ภายใต้บังคับมาตรา 78/3 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
     (1) การขายสินค้านอกจากที่อยู่ในบังคับตาม (2) (3) (4) หรือ (5) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
          (ก) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
          (ข) ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
          (ค) ได้ออกใบกำกับภาษี
          ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี”

     กรณีการให้บริการตามมาตรา 78/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดว่า
     มาตรา 78/1 ภายใต้บังคับมาตรา 78/3 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
     (1) การให้บริการนอกจากที่อยู่ในบังคับตาม (2) (3) หรือ (4) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
          (ก) ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
          (ข) ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น
          ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี”
    

  จากบทความ ออกใบกำกับภาษีเมื่อใด...ไม่มีความผิด Section: Tax Talk / Column:
ภาษีสรรพากร อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 43 ฉบับที่ 511
เดือนเมษายน 2567 หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร”
เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความผ่านระบบ e- Magazine Index

 
 

 

FaLang translation system by Faboba