ความแตกต่างประเด็นทางภาษีของเช่าซื้อ vs ลีสซิ่ง พร้อมตารางสรุปที่เข้าใจง่าย

โดย

 


 
ความแตกต่างประเด็นทางภาษีของเช่าซื้อ vs ลีสซิ่ง
พร้อมตารางสรุปที่เข้าใจง่าย

 

      สัญญาเช่าซื้อ (Hire Purchase)
      
คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินให้เช่าภายใต้เงื่อนไขว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าจ่ายเงินให้แก่เจ้าของทรัพย์สินตามจำนวนงวดที่ตกลงกันไว้ หรือ เรียกว่าสัญญาเช่าซื้อคือการผ่อนสินค้า โดยมีการแบ่งจ่ายเป็นงวด ซึ่งกรรมสิทธิ์จะเป็นของผู้เช่าตั้งแต่เริ่มเซ็นสัญญา และเมื่อผู้เช่าซื้อผ่อนจ่ายค่าสินค้าครบถ้วนแล้ว ผู้ขายจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นให้ผู้เช่าซื้อ

การนำไปใช้ประโยชน์ทางภาษี
      * 
ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อให้นำมาคำนวณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่เริ่มผ่อนชำระ โดยสามารถบันทึกค่าเสื่อมราคาต่อปีเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเช่าซื้อรวมดอกเบี้ย
      * 
คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาได้ในอัตราไม่เกินร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน เมื่อคำนวณออกมาแล้วจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อหรือราคาที่จะต้องผ่อนชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
      * 
กรณีรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ให้หักค่าเสื่อมราคาได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท

      สัญญาลีสซิ่ง (Leasing)
      
คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินตกลงให้ผู้เช่าทรัพย์สินแบบแบบลีสซิ่ง (Leasing) ใช้ประโยชน์จากทรัพย์นั้นได้ โดยมีเงื่อนไขและข้อจำกัดตามที่ระบุในสัญญา และต้องชำระราคาตามที่กำหนดไว้ โดยเจ้าของทรัพย์สินตกลงจะขายทรัพย์สินที่ให้ลิสซิ่งนั้นให้แก่ผู้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งเมื่อครบกำหนดตามสัญญา หรือเรียกว่าสัญญาเช่า ซึ่งยังไม่ถือเป็นทรัพย์สินของผู้เช่า ดังนั้น เมื่อจ่ายค่าเช่าครบตามที่กำหนดในสัญญา ผู้เช่ามีสิทธิเลือกได้ว่าจะซื้อทรัพย์สิน เช่าต่อ หรือคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ให้เช่า

การนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษี
      * 
ผู้ให้เช่าลีสซิ่งยังคงมีสิทธิหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่ได้โอนไปยังผู้เช่า
      * 
ผู้เช่าลีสซิ่งไม่มีสิทธิ์หักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน แต่สามารถนำค่าเช่ามาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
      * 
เงินค่าเช่าที่จ่ายรายเดือนต้องบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายได้เต็มจำนวนที่จ่ายจริง
      * เฉพาะกรณีเป็นการเช่ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ไม่เกินเดือนละ 36,000 บาท หรือไม่เกินคันละ 1,200 บาทต่อวัน

ตารางสรุปความแตกต่างของการเช่าซื้อและลีสซิ่ง

FaLang translation system by Faboba