การบริหารงานแบบยืดหยุ่น ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง

โดย

 


 
การบริหารงานแบบยืดหยุ่น ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง


        ต้อนรับเดือนแห่งความรัก…กุมภาพันธ์ ด้วยบทสัมภาษณ์ผู้บริหารมากความสามารถ คุณดุ๊ก-ภาณุเดช วัฒนสุชาติ เจ้าของช่องทางออนไลน์ DUKE BHANUDEJ ที่มีผู้ติดตามเกือบ 1 ล้านคนในตอนนี้ รวมทั้งเป็น 1 ในผู้บริหาร บริษัท เงาะถอดรูป จำกัด ผู้ผลิตรายการ “ตีท้ายครัว” คุณดุ๊กมีวิธีคิดในการบริหารงานแบบยืดหยุ่นที่น่าสนใจ ซึ่งทีมงานส่วนใหญ่เป็น Freelance รวมทั้งการนำประสบการณ์ในงานต่างๆ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ทั้งในและนอกวงการบันเทิงมาปรับใช้กับการบริหารงานและบริหารคนได้อย่างน่าสนใจในสไตล์ของตัวเอง มาดูกันว่าวิธีบริหารแนวคิดและมุมมองการทำงานสไตล์คุณดุ๊กในยุคที่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายวงการจะเป็นอย่างไร

         Model การทำงานแบบยืดหยุ่น

        “บริษัท เงาะถอดรูป มีทีมงานไม่เยอะครับ มีผู้บริหาร 3 คน มีครีเอทีฟ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายพีอาร์ ฝ่ายบัญชี รวมกันไม่ถึง 10 คน ส่วนงานโปรดักชั่นทั้งหมดจะเป็นทีม Freelance เราใช้รูปแบบการทำงานแบบนี้ตั้งแต่แรก เพราะ Freelance ฝีมือดีๆ มีเยอะนะครับ ถ้าเขาทำกับเราแล้วแฮปปี้ มันก็โอเค ผมว่ามันแฟร์ดี

        บทบาทของผมในบริษัท คือ การครีเอตสิ่งต่างๆ การเล่าเรื่อง ลูกเล่น คอนเทนต์ ส่วนคุณต้น (ณฐนนท์ ชลลัมพี) เขาจะดูแลเรื่องการบริหารจัดการระบบในออฟฟิศ เรื่องอุปกรณ์ในงานโปรดักชั่น น้องจ๋า (ยศสินี ณ นคร) ก็จะเป็นเรื่องคอนเนกชั่น แล้วเขาก็มีมุมมองสมัยใหม่มาช่วยการเล่าเรื่องด้วย เราก็ทำงานกันสบายๆ ไม่กดดันกัน ทุกวันนี้แทบจะไม่มีใครเข้าออฟฟิศ มีแค่คุณต้นที่เข้าไปทำงานเรื่องบริหาร ส่วนการประชุมเราใช้วิธีออนไลน์ เปลี่ยนมาใช้วิธีนี้ตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ระบาด”

         ความท้าทายของการบริหารคน 

        “ความยากของการบริหารคน ก็อยู่ที่ “คน” นี่ล่ะครับ การที่เราต้องบริหารคนร้อยพ่อพันแม่ มีความแตกต่างทางความคิด นั่นคือสิ่งที่ยากที่สุด เพราะถ้าเราเอาคนเหล่านี้มาอยู่รวมกัน เราจะจัดการให้เขาเห็นแนวทางเดียวกันได้อย่างไร เราจะปรับ Mindset ของเขาได้อย่างไร นั่นคือสิ่งที่ยากที่สุด ผมอาจจะไม่ได้รู้ว่าต้องบริหารจัดการแต่ละคนอย่างไร แต่ผมเริ่มด้วยเรื่องของใจ เห็นใจคนที่ทำงานกันด้วยความเข้าใจ และขณะเดียวกัน เราก็ไม่ได้ดูแลเขาแค่เรื่องงาน ถ้ามีบางเรื่องที่เรายื่นมือไปช่วยเขาได้เพื่อให้ชีวิตเขาราบรื่นขึ้น เราก็ทำ แต่ถ้าเรื่องไหนที่แตะไม่ได้ เราก็ปล่อยวาง เรื่องไหนที่รู้สึกว่าเป๋เราก็ตบเข้ามา แต่เราจะไม่แบก เพราะเราคงไปแก้ปัญหาให้ทุกคนไม่ได้ คำตอบของผม คือ การบริหารความรู้สึกของคน หัวใจของคน ความคิดของคน ต่อให้องค์กรใหญ่แค่ไหน ถ้าสามารถทำแบบนั้นได้ น่าจะเป็นเรื่องที่ดี แน่นอนว่าผู้บริหารระดับสูงคงจะทำได้ไม่ละเอียด แต่ถ้าถ่ายทอดให้หัวหน้างานแต่ละระดับเข้าใจและทำได้ ผมว่าน่าจะเป็นองค์กรแห่งความสุข 

 

  บางส่วนจากบทความ : การบริหารงานแบบยืดหยุ่น ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง
โดย : กองบรรณาธิการ / Section : - / Column : Cover Story
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร HR Society ปีที่ 22 ฉบับที่ 254 เดือนกุมภาพันธ์ 2567

 
 
 
FaLang translation system by Faboba