สิทธิทางภาษีของคู่สมรสไม่ได้จดทะเบียน

โดย

 


 
สิทธิทางภาษีของคู่สมรสไม่ได้จดทะเบียน


     ประมวลรัษฎากรในส่วนของบุคคลธรรมดา ปรากฏคำว่า “สมรส” หลายมาตรา เช่น มาตรา 47 (ค่าลดหย่อน) มาตรา 56 มาตรา 57 ฉ (การยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการคำนวณภาษีเงินได้ของสามีภริยา) เป็นต้น
     แสดงให้เห็นว่า การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของชายและหญิงมีความสำคัญต่อภาษีอากรอย่างยิ่ง โดยในการยื่นรายการ ไม่ว่าจะเป็นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นสามีหรือภริยาตามกฎหมาย ต้องระบุสถานภาพของผู้มีเงินได้ว่า “สมรส” ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนของตนเองและคู่สมรสได้เต็มจำนวนตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด (คนละ 60,000 บาท (กรณีแยกยื่นรายการ) หรือ 120,000 บาท (กรณียื่นรายการรวมกันในนามของสามีหรือภริยา)
     นอกจากนี้ ผู้มีเงินได้ยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายของตน (คนละ 30,000 บาท (กรณีแยกยื่นรายการ) หรือ 60,000 บาท (กรณียื่นรายการรวมกัน) เป็นต้น ดังนั้นหากชายและหญิง (ผู้มีเงินได้) ใด ได้อยู่ร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แต่ละฝ่ายยังคงต้องยื่นรายการในสถานภาพ “โสด” และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของตน จะนำสิทธิลดหย่อนของอีกฝ่ายหนึ่งมาใช้ไม่ได้
     และสำหรับการลดหย่อนบุตร มารดาเท่านั้นมีสิทธิลดหย่อนบุตร บิดาจะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้เมื่อบิดาได้ดำเนินการตาม 1 (1) (2) หรือ (3) ข้างต้น

 

  จากบทความ : “ภาษีกับการให้ในคู่สมรสไม่จดทะเบียน”
  Section: Tax Talk / Column: Tax How to อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...
  วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 43 ฉบับที่ 507 เดือนธันวาคม 2566 หรือสมัครสมาชิก
  “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index 

 
 
 

 

FaLang translation system by Faboba