เงินได้จาก “รับทำงานให้” กับ “ค่าวิชาชีพอิสระ” แตกต่างกันอย่างไร

โดย

 


 
เงินได้จาก “รับทำงานให้” กับ “ค่าวิชาชีพอิสระ”
แตกต่างกันอย่างไร

     เงินได้ตามมาตรา 40 (6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ เงินค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ซึ่งขณะนี้มี 6 วิชาชีพ อันได้แก่
     1.วิชาชีพกฎหมาย
     2.การประกอบโรคศิลปะ
     3.วิศวกรรม
     4.สถาปัตยกรรม
     5.การบัญชี
     6.ประณีตศิลปกรรม
     ในแต่ละวิชาชีพจะมีกฎหมายควบคุมของตนเอง เช่น พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลป์ พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม เงินได้ตามมาตรานี้ผู้มีเงินได้ต้องทำงานใช้ความรู้ตามวิชาชีพดังกล่าวและทำโดยอิสระโดยตนเอง ค่าตอบแทนที่ได้เป็นไปตามความยากง่ายของงาน
     ในขณะที่เงินได้ตามมาตรา 40 (1) คือ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ฯ (เป็นพนักงาน) และเงินได้ตามมาตรา 40 (2) คือ เงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ฯ ดังนั้นเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเงินได้ตามมาตรา 40 (6) ไม่ว่าจะเป็นอาชีพทนายความ นักบัญชี หรือแพทย์ ย่อมมีความแตกต่างกัน
     การเป็นพนักงานมีนายจ้างจะตีความไม่ยากว่าอย่างไรก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แต่หากไม่ได้เป็นพนักงานแบบใดจึงจะถือว่าเป็นการรับทำงานให้ที่เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) หรืออย่างไรจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (6) ต้องพิจารณาให้ดี เพราะการหักค่าใช้จ่ายมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทเงินได้ คือ

 

ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย
  1. เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง   50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้
  ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2
  ประเภทรวมกัน แต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  2. เงินได้จากหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน
  ที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
  ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯ
  ตามจริงหรืออัตราเหมา
  60%
  30%
  6. วิชาชีพอิสระ
    - ประกอบโรคศิลปะ
    - กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม
      บัญชี ประณีตศิลปกรรม

     เพื่อความเข้าใจในการตีความว่าเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด ขอยกกรณีตัวอย่างดังนี้
     ตัวอย่างที่ 1 ค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับหากได้รับจากการจ้างแรงงาน (เป็นพนักงาน) แม้ว่างานที่ปฏิบัตินั้นจะใช้วิชาการประกอบโรคศิลปะก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หรือหากได้รับจากหน้าที่หรืองานที่รับทำงานให้ ไม่ว่าจะประจำหรือชั่วคราวจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แต่ถ้าปรากฏว่าค่าตอบแทนที่ได้รับนั้นแพทย์ได้เปิดคลินิกรักษาคนไข้เอง หรือทำสัญญากับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลป์ในนามของแพทย์เพื่อตรวจรักษาผู้ป่วย โดยแพทย์เป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาเองและมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาให้สถานพยาบาล เช่นนี้จะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (6) (อ้างอิงข้อหารือกรมสรรพากรที่ กค 0702/1703 วันที่ 4 มีนาคม 2553)


  จากบทความ “ความเสี่ยงจากการตีความเงินได้พึงประเมินผิดประเภท”
  Section: Tax Talk / Column: Tax Vision อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...
  วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 42 ฉบับที่ 504 เดือนกันยายน 2566
  หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index

 
 
FaLang translation system by Faboba