หนังสือรับรองการทำงานนายจ้าง จำเป็นต้องออกให้ลูกจ้างหรือไม่ ?

โดย

 


 
หนังสือรับรองการทำงานนายจ้าง
จำเป็นต้องออกให้ลูกจ้างหรือไม่ ?


      “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 กำหนดว่า เมื่อการจ้างงานสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร”
      ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดการจ้างงานทุกกรณี ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับหนังสือรับรองการทำงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้กับลูกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิขอหนังสือรับรองการทำงานย้อนหลังได้ไม่ว่าเป็นเวลานานเท่าใด หากนายจ้างฝ่าฝืนลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 14 ได้

รายละเอียดที่มักระบุในหนังสือรับรองการทำงาน
      - ข้อมูลของลูกจ้าง
      - ตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ
      - หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงาน
      - ระยะเวลาในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
      - จำนวนเงินเดือน ค่าตอบแทนต่างๆ

รายละเอียดไม่ควรระบุในหนังสือรับรองการทำงาน
- ข้อความที่ส่งผลกระทบกับลูกจ้างในเชิงลบ
- การถูกลงโทษทางวินัย
- การกระทำความผิด

      หนังสือรับรองการทำงาน เมื่อนายจ้างจัดทำและลงนามในหนังสือรับรองการทำงานแล้ว ให้ส่งมอบแก่ลูกจ้างผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในหนังสือรับรองดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ โดยนายจ้างอาจทำสำเนาเก็บไว้อีกฉบับเพื่ออ้างอิงหรือไม่ก็ได้

FaLang translation system by Faboba