การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพิชิตเป็นนักบัญชีมืออาชีพ ตอนที่ 57 ใบกำกับภาษี (2) แนวปฏิบัติ

โดย

 

 
  ผู้ประกอบการที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี 


แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับใบกำกับภาษีในกรณีที่ผู้ประกอบการที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ มีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แต่โดยผลของกฎหมายทำให้ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรอีก
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ให้ตัวแทนของตนจัดทำใบกำกับภาษีแทนตนเองตามมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีตัวแทนได้จัดทำใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอีก
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกขายทอดตลาดโดยส่วนราชการเป็นผู้ทอดตลาดตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร
ส่วนราชการได้จัดทำใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดและจัดทำสำเนาใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินเพื่อเป็นหลักฐานในการลงรายงานภาษีขาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอีก
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกขายทอดตลาดโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการเป็นผู้ทอดตลาดตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้ทอดตลาดจัดทำใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดตามมาตรา 86/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สินไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอีก


   
      บางส่วนจากบทความ "การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพิชิตเป็นนักบัญชีมืออาชีพ ตอนที่ 57  ใบกำกับภาษี (2) 
แนวปฏิบัติ"
      อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่..วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 41  ฉบับที่ 485 เดือนกุมภาพันธ์ 2565
     หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index




Smart Accounting : Accounting How to : กองบรรณาธิการ
วารสาร : เอกสารภาษีอากร  กุมภาพันธ์ 2565



FaLang translation system by Faboba