ประมาณการ ภ.ง.ด.51 อย่างไร เพื่อการนำส่งไม่ผิดพลาด

โดย

 


5  หลักปฏิบัติ  การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 จากการประมาณการกำไรสุทธิ


1.ควรตรวจสอบการนำยื่นการเสียภาษีย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี เพื่อดูว่าที่ผ่านมาการเสียภาษีประจำปี และการประมาณ
การการเสียภาษีครึ่งปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง

2.เร่งการปิดบัญชีประจำปี อย่างน้อยควรต้องรู้ข้อมูลจริง 6 เดือน

3.ประมาณการผลประกอบการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนหลังนั้น ควรมีการเตรียมข้อมูล เช่น เปรียบเทียบกับปี
ก่อน และ/หรือ ปรึกษากับผู้บริหาร ทิศทางการเติบโตของรายได้ 6 เดือนเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสนับสนุน

4.ประเด็นสำคัญ คำว่ากำไรสุทธิ คือ กำไรสุทธิทางภาษี ดังนั้นต้องเปรียบเสมือนการคำนวณภาษีประจำปี คือระวัง
ในเรื่องดังต่อไปนี้
• ความแตกต่างรายได้ทางบัญชีกับรายได้ทางภาษี
• รายได้อื่นที่อาจจะเกิดขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่นักบัญชีมักจะลืมรายการนี้ เวลาประมาณการรายได้ เพราะสนใจเพียงรายได้หลัก)
• รายการบวกกลับ – หักออก เช่น ค่าใช้จ่ายต้องห้าม, รายได้ที่ได้รับการยกเว้น รายการสิทธิประโยชน์ทางภาษี
และผลขาดทุนสะสมทางภาษีไม่เกิน 5 ปี เป็นต้น

5.เมื่อจัดทำข้อมูลประมาณการเสียภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเรียบร้อยแล้ว ควรนำไปอธิบายให้ผู้บริหารได้ รับทราบ
เพื่อทบทวนตัวเลข อันจะช่วยลดปัญหาการประมาณการผิดพลาด  


  บางส่วนจากบทความ “ประมาณการ ภ.ง.ด.51 อย่างไร เพื่อการนำส่งไม่ผิดพลาด”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 211 เดือนกรกฎาคม 2564

 



Accounting Style : CPD Coach : Mr.knowing 
วารสาร : CPD&ACCOUNT กรกฎาคม 2564


FaLang translation system by Faboba