e - Withholding Tax

โดย

 

 


e - Withholding Tax หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านธนาคารพาณิชย์ เป็นระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นมาเพื่อ
ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยผ่านธนาคาร
กรมสรรพากรมีการพัฒนาระบบ e - Withholding Tax ร่วมกับธนาคารมากว่า 1 ปีแล้ว และกำลังจะพร้อมใช้งานคาดว่า
จะเริ่มใช้ได้ 1 ตุลาคม 2563 นี้

พัฒนาการกฎหมายที่เกี่ยวกับ e - Withholding Tax เดือนมีนาคม 2562 มีการแก้ไขประมวลรัษฎากรมาตรา 3 ปัณรส
เพื่อประโยชน์ในการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 การนำส่งภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ
และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 เดือนมิถุนายน 2563 มีการออกกฎกระทรวงฉบับที่ 364
(พ.ศ. 2563) ว่าด้วยการนำส่งเงินภาษี  เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2563 กรมสรรพากรจะทยอยออกระเบียบแนวปฎิบัติต่างๆ เพิ่มเติมอีก

ประโยชน์ที่ได้รับจาก e - Withholding Tax 
1. ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 52 อันได้แก่
• ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53
• ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3
• ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แบบ ภ.ง.ด.53
2. ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ แบบ ภ.ง.ด. 54
3. ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจำหน่ายเงินกำไร แบบ ภ.ง.ด. 54
4. ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 เป็นกรณีขายทอดตลาด (ภ.พ.36)
5. ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 เป็นกรณีจ่ายค่าสินค้าหรือบริการให้ผู้ประกอบการต่างประเทศ
(แบบภ.พ.36)

วิธีการนำส่งภาษีในระบบ e - Withholding Tax ตามแนวกฎกระทรวง 364
1. เลือกใช้ธนาคารที่ได้มีการยื่นคำขอต่อกรมสรรพากรเพื่ออนุมัติให้เป็นผู้มีหน้าที่รับเงินภาษีจากผู้มีหน้าที่นำส่งเงินภาษี
แทนกรมสรรพากรตามที่จะมีหลักเกณฑ์ประกาศต่อไป
2. ผู้มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีจะต้องแจ้งรายการที่เกี่ยวข้องต่อธนาคาร ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด อย่างน้อยคือ เลขประจำตัว
ผู้เสียภาษีของผู้จ่ายเงินและผู้รับเงิน, ประเภทเงินได้, จำนวนเงินที่จ่าย, จำนวนภาษีที่หักหรือนำส่ง
3. เมื่อธนาคารได้รับเงินจากผู้นำส่งภาษีแล้วต้องออกหลักฐานป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีและ
ผู้รับเงิน หรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งกรมสรรพากรจะมีประกาศหลักเกณฑ์ออกมา
4. ให้ธนาคารนำส่งเงินภาษีที่ได้รับมาต่อกรมสรรพากรภายในระยะเวลาที่ได้ทำความตกลงกับกรมสรรพากร แต่ไม่เกิน 4 วัน
ทำการ นับถัดจากวันที่ธนาคารได้รับเงินภาษีและรายการ

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ e - Withholding Tax
ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส จาก 3 % เหลือ 2 % กรณีนำส่งภาษีผ่านระบบ e – Withholding Tax
สำหรับการจ่ายในช่วง 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 

• ด้านผู้จ่ายเงิน
- ไม่ต้องยื่นแบบรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ไม่ต้องออกและนำส่งหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย
- ตรวจสอบข้อมูลการหัก ณ ที่จ่าย ได้บนเว็บไซต์กรมสรรพากร

• ด้านผู้รับเงิน
- ไม่ต้องเก็บหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย
- ตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร
- ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการหัก ณที่จ่ายพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษี


   
      บางส่วนจากบทความ “e - Withholding Tax”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 467 เดือน กันยายน  2563 




Tax Talk : Tax vision : ชลลดา ฟูวัฒนศิลป์
วารสาร : เอกสารภาษีอากร กันยายน  2563 



FaLang translation system by Faboba