มาเรียนรู้การจัดทำงบประมาณเงินสดกันเถอะ

โดย

 



ทบทวนการจัดทำงบประมาณเงินสดรับ (Cash Receipts Budget)


ปัจจัยพื้นฐานในการพิจารณา คงต้องศึกษาว่าบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร มีรายได้หลักที่จะก่อให้เกิดกระแสเงินสดและ
มีรายได้อื่นที่จะก่อให้เกิดกระแสเงินสดอย่างไร ข้อมูลอื่นๆ จะมีการกู้ยืมเงิน/จะมีการเพิ่มทุนที่จะก่อให้เกิด กระแสเงินสดบ้าง
หรือไม่ เป็นต้น ซึ่งถ้าสรุปจะเห็นได้ว่ากระแสเงินสดรับจะมีแหล่งเกิดขึ้น 2 แหล่ง

1. กิจกรรมปกติ กระแสเงินสดจากการขาย/บริการ ซึ่งแบ่งออกเป็น
1.1 รับเป็นเงินสด–ขาย/บริการ เก็บเงินทันที
1.2 รับเป็นเงินสดจากลูกหนี้การค้า เพื่อครบกำหนดชำระตามเครดิตเทอม (ตัวอย่าง ขายเชื่อเดือนมกราคม– ลูกหนี้การค้า
เครดิต 30 วัน กระแสเงินสดรับจะได้รับประมาณเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม เป็นต้น)

2.  กิจกรรมอื่นๆ เช่น รับเงินจากการขายเศษซาก/รับเงินจากการขายสินทรัพย์ถาวร เป็นต้น 

กระแสเงินสดรับจากกิจกรรมปกติ + กระแสเงินสดรับจากกิจกรรมอื่นๆ
=
กระแสเงินสดรับทั้งสิ้น


งบประมาณเงินสดรับ : (พันบาท)

รายการ สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
ยอดขายรวม          
ยอดขายเชื่อ 90 %          
ชำระ 1 เดือนถัดจาก
เดือนที่ขาย (80%)
         
ชำระ 2 เดือนถัดจาก
เดือนที่ขาย (20%)
         
ขายเป็นเงินสด (10%)          
เงินสดรับจากการ
ขายสินค้า
         
เงินสดรับจากการ
ขายอาคาร
         
เงินสดรับทั้งสิ้น          



  บางส่วนจากบทความ “มาเรียนรู้การจัดทำงบประมาณเงินสดกันเถอะ”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 17 ฉบับที่ 200  เดือนกันยายน  2563



Accounting Style : CPD  Coach : Mr.knowing
วารสาร : CPD&ACCOUNT กันยายน 2563


FaLang translation system by Faboba