ลูกจ้างจอมเบี้ยวไปไม่ลา เจอดีถูกฟ้องได้!

โดย

 

 

การเป็นลูกจ้างที่ดีต้องรับผิดชอบ ต้องทำตามสัญญา จึงจะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน คิดถึงใจเขาใจเรา การจ้างแรงงาน
เป็นสัญญาต่างตอบแทน เราไม่อยากถูกนายจ้างเอาเปรียบ เราก็อย่าไปเอาเปรียบนายจ้าง แฟร์ๆ ต่อกัน 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10614/2558 เรื่องนี้เป็นเคราะห์หามยามซวยของลูกจ้างที่เป็นจอมเบี้ยวและทำตัวเองเอง เพราะ
นายจ้างฟ้องขอให้ศาลบังคับลูกจ้างรายนี้ให้จ่ายค่าเสียหายได้ครับ อาจารย์ขอเรียกค่าเสียหายที่ฟ้องนี้ว่า “ค่าเสียหาย
อันเกิดจากการผิดสัญญาจ้าง”  
1.โจทก์ (นายจ้าง) ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 จำเลย (ลูกจ้าง) เข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์
ตำแหน่งพนักงานขาย ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 8,500 บาทและค่าเบี้ยเลี้ยง ค่านายหน้าหรือค่าคอมมิชชั่น
และเงินอื่นๆ กำหนดจ่ายค่าจ้างประมาณสิ้นเดือนจนถึงต้นเดือนถัดไป
2. จำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะทำยอดขายให้แก่โจทก์ให้ได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท
3. ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง กล่าวคือ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2551 จำเลยได้
ละทิ้งหน้าที่การงานไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
4. โจทก์จึงมีหนังสือเลิกจ้างและไล่จำเลยออกจากงาน ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2551 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจำนวน 570,082.63 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง
จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

ศาลได้พิพากษาให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 8,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่
วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ (นายจ้าง) 

พูดกันง่ายๆ ก็หมายความว่า ลูกจ้างเองจะไปต้องลา มาก็ต้องไหว้ ไม่ใช่จะหายไปเฉยๆ อย่างในคดีดังกล่าวนี้ ถึงขั้นนายจ้าง
อดรนทนไม่ไหวมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันมากมายอย่างที่กล่าวกันไปแล้วข้างต้น รับรองว่าถ้าฟ้องเรียก “ค่าเสียหายอัน
เกิดจากการผิดสัญญาจ้าง” เท่ากับ การไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17
และ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคแรก ที่ว่า "ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้าง
กันนานเท่าไร ท่านว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง
คราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็อาจทำได้ แต่ไม่จำต้อง
บอกกล่าวล่วงหน้ากว่า 3 เดือน"  เขียนเหมือนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 วรรค 2 เลยเห็นไหม รับรอง
ครับว่าได้ “ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้าง” แน่นอนเห็นๆ อย่างคดีนี้ศาลให้ครับ 

สรุปลูกจ้างที่รักหากจะหนีหน้าเผ่นแน่บ โอกาสเจอนายจ้างฟ้องสวนมีแน่นอนอย่างฎีกานี้ และลูกจ้างแพ้เสมอ ไม่รอด
หรอกครับ จึงเป็นอุทาหรณ์สอนใจว่า
1. แม้นายจ้างจะได้ “ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้าง” ไม่สมฟ้องก็ตาม แต่ได้ชื่อว่าชนะลูกจ้าง
2. การเบี้ยวกันศาลเองก็ไม่ชอบ เพราะมันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ต้องแฟร์ทั้งคู่ แม้จะเป็นลูกจ้างก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
แรงงาน
3. ศาลฎีกายืนยันว่านายจ้างฟ้องได้ ศาลรับฟ้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
1.) ค่าเสียหายจากการที่ไม่สามารถหาพนักงานมาทำงานแทนได้
2.) ค่าเสียหายต่อการทำให้เสียโครงสร้างการบริหารลูกค้าภายในบริษัทโจทก์และเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดี
3.) ค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยขาดงานไปโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า
4.) ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงในทางการค้า
5.) ค่าเสียหายเหมือนค่าชดเชย ส่วนจะได้อะไรหรือไม่ได้อะไร ไม่แคร์ แค่ฟ้องได้ก็เป็นบรรทัดฐานแล้วครับ ไปพิสูจน์
ความเสียหายในศาลเอาเอง

ฉะนั้นเมื่อเป็นเรื่องถึงฎีกาด้วยแล้ว ชื่อลูกจ้างโชว์หราในคำพิพากษา จะไปหางานทำที่ไหนๆ หากมีคนรู้ก็จะพากันปฏิเสธ
ไม่รับเข้าทำงาน อย่างนี้มีแต่เสียกับเสียครับ 



  บางส่วนจากบทความ  “ลูกจ้างจอมเบี้ยวไปไม่ลา เจอดีถูกฟ้องได้!”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 212 เดือนสิงหาคม 2563



กฎหมายแรงงาน : คลายปมปัญหาแรงงาน : กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
วารสาร : HR Society Magazine สิงหาคม 2563


FaLang translation system by Faboba