นักบัญชีในยุค Big Data Analytics

โดย

 

 
 7 เครื่องมือ สำหรับนักบัญชียุค Big Data Analytics


“เครื่องมือเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้พร้อมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล Big Data” ในมุมมองของวิชาชีพบัญชีในแขนงต่างๆ
ซึ่งจะลงรายละเอียดที่เกี่ยวกับงานด้านบัญชีการเงิน การบัญชีบริหาร การสอบบัญชี และการภาษีอากร มีเนื้อหาถึงผลกระทบ
และการเตรียมความพร้อมในการทำงาน อีกทั้งฉายภาพสิ่งที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ พร้อมกับ Update เรื่องราวที่น่าสนใจ
ในการให้บริการวิชาชีพของนักบัญชีในรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. การบัญชีการเงินในยุค Big Data (Big Data and Financial Accounting)
ในปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุค Digital วิถีการทำงานของนักบัญชีเปลี่ยนแปลงไป ทำให้นิยามขยายขอบเขตเป็น “การบัญชี
การเงินในยุค Big Data” ส่งผลให้สภาพแวดล้อมการทำงานเปลี่ยน เนื่องจากข้อมูลทางด้านสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information Systems: AIS) มีรายละเอียดของข้อมูลทางการบัญชีและการเงินมากขี้นกว่าระบบเดิม
มีรูปแบบที่เกิดขึ้นใหม่ได้แก่เนื้อหาหรือข้อความ (Text) วีดีโอ (Video) และข้อมูลเสียง (Audio Data) เป็นต้น

2. การบัญชีบริหารในยุค Big Data (Big Data and Managerial Accounting)
นักบัญชีบริหารมีพันธกิจในการนำเสนอข้อมูลทางการบัญชีและข้อมูลอื่นๆ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์กรเพื่อประโยชน์ใน
การวางแผน ควบคุม ประเมินผลการดำเนินงานและการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ ข้อมูลทางการบัญชีจะรวบรวมจาก
หลักฐานที่เกิดขึ้นในอดีตและข้อมูลประมาณการสำหรับอนาคตที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร
โดยจะให้ความสำคัญที่ความเกี่ยวข้องของข้อมูลที่จะใช้วิเคราะห์ในการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ของผู้บริหาร

3. การสอบบัญชีผ่านระบบสารสนเทศ (Auditing through Information Systems)
ผู้สอบบัญชีทำหน้าที่เป็นบุคคลที่ 3 ที่มีความเป็นกลางมีหน้าที่ตรวจสอบและประเมินผลงบการเงินที่จัดทำโดยฝ่ายบริหารโดย
ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นต่องบการเงินว่ามีการเปิดเผยข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ในอดีตจนถึง
ปัจจุบันผู้สอบบัญชีอาจเลือกรายการตรวจสอบได้จากวงจรรายได้ วงจรค่าใช้จ่าย หรือวงจรการจัดหาเงิน เพื่อสนับสนุน
สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองรองไว้ในงบการเงิน

4. การสอบบัญชีด้วยวิธีการตรวจสอบอัตโนมัติ (Auditing with Automated Audit Procedures)
การสอบบัญชีด้วยวิธีการตรวจสอบอัตโนมัตินั้นจะต้องอาศัยใช้การทำงานอัตโนมัติหรือนักบัญชีหุ่นยนต์ (Robotic Process
Automation: RPA) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และกระบวนการ Big Data Analytics โดยผู้สอบบัญชี
สามารถวางกรอบในการทำงาน (Framework) โดยอาศัยการทำงานของ RPA ไปใช้ในการสอบบัญชี มุ่งเน้นในการลด
ขั้นตอนในการทำงานซ้ำๆ

5. ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะในอาชญากรรมทางการเงิน (Intelligent Automation in Financial Crimes)
ระบบการจัดการตรวจสอบที่ใช้ระบบอัจฉริยะแบบอัตโนมัติที่จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มการแจ้งเตือนและแพลตฟอร์ม
ดำเนินการจัดการพร้อมทั้งการปราบปรามการก่อการร้ายในธุรกรรมทางการเงินต่างๆ

6. การวิเคราะห์การบัญชีภาษีอากรและบูรณาการการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Tax Accounting
and Integration of Data Analytics)

เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลภาษีโดยใช้กระบวนการ Big Data Analytics เป็นเครื่องมือในการบูรณาการวิเคราะห์ข้อมูล
แบบพื้นฐาน (Descriptive Analytics) เป็นการอธิบายรายการค้าในอดีตแล้ววิเคราะห์เพื่อแสดงผลของรายการทางธุรกิจ
เหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นหรืออาจกำลังเกิดขึ้นในลักษณะที่ง่ายต่อการเข้าใจหรือต่อการตัดสินใจโดยนำ
ออกมาเป็นรูปแบบโซลูชั่นคลาวด์ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในเวลาไม่กี่นาทีสามารถสรุปผลได้อย่างชัดเจน เพื่อนำไป
ประมวลผลในการคำนวณภาษีได้ทันที

7. รายงานทางการเงินที่บิดเบือน (Fraudulent Financial Reporting)
การบัญชีสืบสวนหรือการบัญชีนิติเวช (Forensic Accounting) เป็นศาตร์ในการสืบสวนการประเมินและการรายงานการทุจริต
รวมถึงการสืบสวนการฉ้อโกงการรายงานทางการเงินที่บิดเบือน โดยสามารถใช้การประยุกต์ใช้กระบวนการ Big Data
Analyticsในแบบการวิเคราะห์แบบเชิงวินิจฉัย (Diagnostic Analytics) ช่วยทำให้เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเกิดจากอะไร
หรือสาเหตุเป็นเพราะอะไรเชื่อมโยงไปที่ต้นตอของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางการเงินที่บิดเบือนโดยใช้การทำ
เหมืองข้อมูล (Data Mining)


   
      บางส่วนจากบทความ “นักบัญชีในยุค Big Data Analytics”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 467 เดือน สิงหาคม 2563




Smart Accounting : IT For Accountant : ดร.ธีรเศรษฐ์ เมธจิรนนท์ 
วารสาร : เอกสารภาษีอากร สิงหาคม 2563



FaLang translation system by Faboba