รายจ่ายที่ไม่มีบิล/ ใบกำกับภาษี ลงรายจ่ายได้อย่างไร?

โดย

 



วิธีแก้ปัญหารายจ่ายที่ไม่มีบิล/ ใบกำกับภาษี ลงรายจ่ายได้อย่างไร ?
ถ้าพิสูจน์การจ่ายเงินได้ ลงเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้าม (ตามมาตรา 65 ตรี)
• ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
• พิสูจน์ได้ว่า บริษัทเป็นผู้จ่าย และใครเป็นผู้รับ
• ทำใบรับเงิน (มาตรา 105 ทวิ) ให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อ (พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแนบ)
• หากบริษัทจ่ายด้วยเช็ค ให้ขีดค่อมระบุชื่อผู้รับเงิน
• เปลี่ยนเป็นการจ่ายเงินผ่านธนาคาร (Bank Statement) หรือจ่ายผ่าน e-Payment (เพื่อตรวจสอบเส้นทางเดิน
ของเงินได้)

การจ่ายเงินที่พิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้
• จ่ายผ่านธนาคาร (Bank Statement) กรณีบริษัทใช้วิธีการชำระเงินแก่เจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศโดยการโอนเงินผ่าน
ธนาคารจากบัญชีของบริษัทให้เจ้าหนี้ สามารถใช้เอกสารแสดงการตัดบัญชีของบริษัท (Debit Advice) ที่ได้รับจากธนาคาร
เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีได้ (กค 0811/14736 - 27 ตุลาคม 2540)
• จัดทำใบรับขึ้นเอง โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้รับเงินว่าเป็นใคร เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ วันเดือนปีที่ได้รับเงิน
เงินที่ได้รับเป็นค่าอะไร จำนวนเงินเท่าไหร จากใคร และให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อ พร้อมสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
ของผู้รับเงิน
• การจ่ายเงินที่ผู้ขายไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ บริษัทต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินที่มีรายละเอียด ระบุชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปี
จำนวนเงิน และรายการที่จ่าย และผู้รับเงินได้ลงชื่อรับไว้ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ บริษัทจึงจะ มีสิทธินำหลักฐานดังกล่าว
มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(18) แห่งประมวลรัษฎากร (กค 0802/23061
ลว. 27 ธันวาคม 2537)


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : รายจ่ายที่ไม่มีบิล/ ใบกำกับภาษี ลงรายจ่ายได้อย่างไร?

 

 




FaLang translation system by Faboba