กลุ่มบริษัทธรรมนิติกับการนำพาธุรกิจฝ่าวิกฤติ Covid-19

โดย

 

 

HR Society Magazine ฉบับนี้ ขอเปิดประตูต้อนรับคุณผู้อ่านสู่บ้านธรรมนิติ ซึ่งครบรอบ 73 ปีของการก่อตั้งในปี 2563
นี้ ทีมงานได้รับเกียรติจาก คุณดุลยทัศน์ พืชมงคล กรรมการจัดการคนที่ 1 กลุ่มบริษัท ธรรมนิติ จำกัด (มหาชน) กับ
การนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบกับคนและเศรษฐกิจทั่วโลก โดยใช้
5 กุลยุทธ์ ดังต่อไปนี้

5 กลยุทธ์ รับมือ Covid–19 

“ธรรมนิติค่อนข้างโชคดีอย่างหนึ่งว่า เราเป็นองค์กรที่มีธุรกิจหรือบริการครอบคลุมทางด้านวิชาชีพอย่างกว้างขวาง ผมขอ
เปรียบเทียบว่าถ้าเป็นมนุษย์เรามีความต้องการปัจจัย 4 คือสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต องค์กรทางธุรกิจเองก็มี
ปัจจัย 4 หรือปัจจัยสำคัญของการบริหารละการดำเนินไปของวงจรชีวิตกิจการด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านั้น
บางประการก็เป็นบริการที่ธรรมนิติให้บริการอยู่ในปัจจุบัน 

ในการรับมือที่ผ่านมา หลังจากที่การแพร่ระบาดได้รับการรายงานครั้งแรกในต่างประเทศประมาณเดือนธันวาคม 2562
เริ่มมีการแพร่กระจายออกไปในประเทศต่างๆ ในเดือนมกราคม 2563 แล้วก็เริ่มมีการระบาดแพร่กระจายมากขึ้นในช่วงต้น
เดือนกุมภาพันธ์ เราตระหนักถึงความสำคัญและพยายามติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เราจึงวิเคราะห์ และประเมิน
สถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในการนี้เราจึงได้กำหนดมาตรการในการรับมือ 5 ด้านออกมาพร้อมกัน เนื่องจากหากมุ่งรับมือ
ในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่งเพียงด้านเดียวอาจจะไม่ทันต่อเหตุการณ์และครอบคลุมไม่เพียงพอ  ซึ่งประกอบด้วย

1. ความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ธรรมนิติมีมาตรการควบคุมการเดินทางไปปฏิบัติ
งานและขอความร่วมมืองดการเดินทางไปภารกิจส่วนตัวของพนักงานในพื้นที่ต่างประเทศที่สุ่มเสี่ยงในระยะแรก และขยาย
ขอบเขตไปยังทุกประเทศที่ไม่ควรเดินทาง รวมถึงยังได้จัดทำประกันภัยโควิด-19 ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กร
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการการกำหนดระเบียบการในการตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานและทุกๆ คนที่เข้ามาภายในอาคาร
มาตรการเกี่ยวกับการสนับสนุนหน้ากากอนามัยให้กับพนักงานและพนักงานที่เดินทางไปปฏิบัติงานภายนอก จัดเจลล้างมือ
ไว้ตามจุดต่างๆ รวมถึงมาตรการในเรื่องของการจัดการพื้นที่ที่แบบมีระยะห่างตามมาตรการ Social Distancing 
สำหรับมาตรการในการต่อลูกค้า เรากำหนดให้พนักงานที่มีภารกิจที่จำเป็นจะต้องพบปะกับลูกค้าจะต้องระมัดระวังเรื่อง
ความสะอาดปลอดภัย  ตั้งแต่คำแนะนำในการเดินทาง การสวมใส่หน้ากาก ความสะอาดทางร่างกาย การเว้นระยะห่าง
และส่งเสริมผลักดันให้ใช้ระบบออนไลน์ในการติดต่อประสานงาน เพื่อลดการพบปะใกล้ชิดในช่วงสานการณ์นี้ไปจนกว่า
จะคลี่ตลาย

2. คู่ค้า เรามีการการพูดคุยและกำหนดแนวทางในการประสานงานกับคู่ค้าของเราว่า ในสถานการณ์ที่ทุกกิจการในตลาด
ได้รับผลกระทบ เราต้องระมัดระวังการกระทำใดๆ ที่จะเป็นการเอารัดเอาเปรียบคู่ค้าของเราอย่างเด็ดขาด ในสถานการณ์นี้
ใครที่ทำธุรกิจร่วมกัน หรือเป็นคู่ค้ากับเรา เราจะต้องเกื้อกูลกันและกัน และให้ถือเป็นโอกาสที่เราจะช่วยเหลือหรือสนับสนุน
ซึ่งกันและกันมากกว่า 

3. การกำหนดแนวทางรับมือทั้งในเชิงภาพรวมและตามกลุ่มงานธุรกิจ นอกแหนือจากการกำหนดแนวทางและ
มาตรการต่างๆ ในภาพรวมขององค์กรแล้ว เพื่อความสอดคล้องกับสถานการณ์และการปฏิบัติจริง เราจึงทำการวิเคราะห์
ผลกระทบและแนวทางในการรับมือที่แยกตามกลุ่มธุรกิจอีกด้วย อย่างที่เรียนไปในตอนต้นว่าธรรมนิติเรามีธุรกิจทาง
ด้านกฎหมาย บัญชี สอบบัญชี สัมมนา สิ่งพิมพ์ ตรวจสอบภายใน และไอที การวิเคราะห์ผลกระทบหรือการประเมินที่ดีคือ
จะต้องประเมินทั้งภาพรวมและภาพเฉพาะของธุรกิจ จึงจะช่วยให้เราสามารถตระหนักในรายละเอียดได้ว่า ในการเผชิญ
ผลกระทบของโควิด-19 ครั้งนี้ ธุรกิจกลุ่มใดบ้างที่ได้รับผลกระทบในระดับสูง ระดับปานกลาง ระดับต่ำ หรือแม้แต่กลุ่ม
ธุรกิจใดที่มีโอกาสเฉพาะหน้า และในระยะยาว 

4. มาตรการตามสถานการณ์ เรามีมาตรการที่ประกาศใช้เพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ โดยเราประเมินสถานการณ์ไว้ 3
แง่มุม แง่มุมแรกคือสถานการณ์เป็นไปตามภาวะปกติที่เกิดขึ้น เช่น ในสถานการณ์ปัจจุบัน (ช่วงต้นเดือนเมษายน 2563)
รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมีการประกาศให้เคอร์ฟิวในเวลา 22.00 - 04.00 น. แต่ว่าธุรกิจก็ยังสามารถดำเนิน
การได้ ยังพอทำงานได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องเหมาะสมคือออกมาตรการให้มีการเหลื่อมเวลาเข้าปฏิบัติงาน
สลับวันทำงาน และการ Work from Home เป็นต้น 
แง่มุมที่ 2 คือเราเตรียมการไว้สำหรับกรณีที่ภาครัฐมีการประกาศให้เคอร์ฟิวตลอด 24 ชั่วโมง เป็นการชั่วคราวซึ่งอาจจะ
เป็น 14 วัน หรือ 21 วัน เป็นสิ่งที่เราจะต้องกำหนดและวางแนวทางในการบริหารจัดการงานและองค์กรในสถานการณ์
แบบนั้นด้วย 
แง่มุมที่ 3 คือกรณีสุดวิสัย ที่เกิดมีพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรของเราติดเชื้อหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ในกรณีนี้เราจะดำเนิน
การโดยจะทำความสะอาดฆ่าเชื้อทั้งองค์กรและปิดสถานที่ทำการเป็นระยะเวลาตามมาตรฐาน โดยเราได้เตรียมการจัดให้มี
สำนักงานสำรองสำหรับบุคลากรที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ และมีการ Work from Home ผสมกันไป 

5. เตรียมความพร้อมทั้งด้านการเงินและการบริหาร ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นเดียวกันกับกิจการทั้งหลาย โดยสิ่งที่
เราได้ดำเนินการควบคู่กันไปคือ การวิเคราะห์ ประเมิน และจัดเตรียมการทางด้านการเงิน และการบริหารจัดการด้านสภาพ
คล่องตลอดจนการบริหารต้นทุน ให้มีความพร้อมในการรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะกินเวลาไปสักระยะ
หนึ่ง เพื่อที่ทุกคนทุกฝ่ายของทั้งองค์กรจะได้มีความมั่นใจว่า เราสามารถที่จะยืนหยัดได้ภายใต้สถานการณ์วิกฤติที่อาจจะ
เกิดขึ้น ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง หรือแม้แต่ในระยะยาว 

ทั้งหมดคือ 5 แนวทางในการรับมือเบื้องต้นที่เราดำเนินการคิด วิเคราะห์ ประเมิน และผลักดันมาตรการต่างๆ ออกไป
พร้อมกัน 


  บางส่วนจากบทความ  “กลุ่มบริษัทธรรมนิติ...กับการนำพาธุรกิจฝ่าวิกฤติ Covid-19”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 209 เดือนพฤษภาคม 2563



Cover Story : กองบรรณาธิการ
วารสาร : HR Society Magazine พฤษภาคม 2563


FaLang translation system by Faboba