รู้จักสัญญาประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลหรือยัง?

โดย

 

 

การควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ย่อมเป็นของคู่กันและไปด้วยกันเสมอ การประมวลผล
ข้อมูลส่วนบุคคลจึงอาจเกิดขึ้นได้ระหว่าง

ผู้ประกอบธุรกิจในฐานะที่เป็นนายจ้างและผู้ควบคุมข้อมูลกับลูกจ้างบางตำแหน่ง ซึ่งตกอยู่ในฐานะตัวแทนของ
ผู้ควบคุมข้อมูลที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลของลูกจ้างตามคำสั่งของนายจ้าง เช่น พนักงานฝ่ายบุคคล ฝ่ายบัญชี
ฝ่ายไอที เป็นต้น 

หรือเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้ประกอบการจัดทำธุรกิจออนไลน์เพื่อซื้อ/ขายสินค้าและหรือบริการของตน โดย
จะต้องให้ลูกค้าที่ประสงค์จะใช้บริการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองก่อนเข้าธุรกิจซื้อขายออนไลน์ดังกล่าว

การทำข้อตกลงประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้น อาจจัดทำออกมาเป็น
1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขหนึ่งที่แทรกอยู่ในสัญญาหลัก
2. หรือจัดทำเป็นสัญญาแยกไว้เป็นการเฉพาะ
3. หรือทำเป็นสัญญาอุปกรณ์ต่อท้ายสัญญาหลัก ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำไว้กับผู้ประมวลผลข้อมูลก็ได้ ได้แก่ แทรกเพิ่มเป็น
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขหนึ่งในสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาบริการ หรือจัดทำเป็นบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจ้างแรงงาน
หรือสัญญาจ้างวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากเว็บไซต์

ซึ่งผู้เขียนขอรวมเรียกนิติกรรมทั้งหลายนี้ว่า “สัญญา” และการทำสัญญาจ้างประมวลผลข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะในรูปแบบใด
ก็จะตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การทำนิติกรรมสัญญามาตรฐานตามกฎหมายแพ่งไทย

เริ่มจากรูปแบบการจัดทำสัญญามาตรฐานทั่วไป โดยมีชื่อของสัญญา วันที่ทำสัญญา สถานที่ทำสัญญา ชื่อคู่สัญญา
และที่อยู่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย 

ส่วนถัดไปจะเป็นส่วนของอารัมภบท เพื่ออ้างอิงถึงที่มาที่ไปของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายว่า มีนิติสัมพันธ์ก่อนหน้านี้กันอย่างไร
ซึ่งถือเป็นสัญญาหลักที่คู่สัญญาทำไว้ต่อกัน 

เมื่อเข้าสู่ส่วนที่เป็นรายละเอียดของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของสัญญา สำหรับเนื้อหาส่วนแรก คู่สัญญาควรกำหนดให้
ชัดเจนว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนำไปใช้ตามสัญญาหลักเป็นข้อมูลอะไรบ้าง เช่น ข้อมูลสำหรับ
การติดต่อ ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว ข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงาน เป็นต้น

สำหรับรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขส่วนต่อไปจะกล่าวถึง หน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งผู้ประมวล
ผลข้อมูลส่วนบุคคลจะมีอำนาจดำเนินการประมวลผลเฉพาะตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้น เว้นแต่การมอบ
หมายนั้นจะขัดต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ 

สัญญาประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนี้ ถือเป็นเรื่องใหม่ของกฎหมายไทย การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของสัญญาตาม
บทความฉบับนี้จึงมีลักษณะเป็นข้อตกลงเบื้องต้น ซึ่งจะต้องถูกปรับใช้ตามข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสัญญาหลักด้วย

ดังนั้น สัญญาประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนี้คงจะต้องถูกพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้นไปยิ่งๆ ขึ้น และหากมีการตีความใดๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสัญญานี้ จะต้องตีความไปในลักษณะเพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและมีมาตรการ
เยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกกระทำละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของ
การประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 


  บางส่วนจากบทความ  “รู้จัก...สัญญาประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลหรือยัง? (ตอนจบ)”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 209 เดือนพฤษภาคม 2563



กฎหมายแรงงาน  : เรื่องข้น คน HR : วรเศรษฐ์  เผือกสกนธ์
วารสาร : HR Society Magazine พฤษภาคม 2563


FaLang translation system by Faboba