พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563

โดย

 



พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563

“การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์”
หมายความว่า การประชุมที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุมที่ได้ กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย ผู้ร่วมประชุมมิได้
อยู่ในสถานที่เดียวกัน และสามารถประชุมปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นระหว่างกันได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
“ผู้ร่วมประชุม” หมายความว่า ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการอนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ
ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลอื่นตามที่กฎหมายกำหนด และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งต้องชี้แจง
แสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการคณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลนั้นด้วย

พระราชกำหนดนี้ ไม่ใช้บังคับแก่
1. การประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
2. การประชุมเพื่อจัดทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
3. การประชุมเพื่อดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ
4. การประชุมอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

• การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ของการประชุมผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

• การส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุมจะส่งโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ในการนี้ผู้มีหน้าที่
จัดการประชุม ต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือเชิญประชุมและเอกสาประกอบการประชุมไว้เป็นหลักฐาน โดยจะจัดเก็บ
ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

มีหน้าที่จัดการประชุมต้อง 
1. จัดให้ผู้ร่วมประชุมแสดงตน เพื่อร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนร่วมการประชุม
2. จัดให้ผู้ร่วมประชุมสามารถลงคะแนนได้ ทั้งการลงคะแนนโดย เปิดเผยและการลงคะแนนลับ
3. จัดทำรายงานการประชุมเป็นหนังสือ
4. จัดให้มีการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ แล้วแต่กรณี ของผู้ร่วมประชุมทุกคน ตลอดระยะเวลาที่มีการประชุมใน
รูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่เป็นการประชุมลับ
5. จัดเก็บข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ร่วมประชุมทุกคนไว้เป็นหลักฐาน ข้อมูลตาม (4) และ (5) ให้ถือเป็นส่วนหนึ่ง
ของรายงานการประชุมมาตรา 10 ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากมีกรณีที่ต้องจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทน
ไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างใดให้แก่ผู้ร่วมประชุม ให้จ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนนั้นให้แก่ผู้ร่วมประชุมซึ่งได้แสดงตนเข้าร่วม
ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

• การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากมีกรณีที่ต้องจ่ายเบี้ยประชุม หรือค่าตอบแทนไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างใดให้แก่
ผู้ร่วมประชุม ให้จ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนนั้นให้แก่ผู้ร่วมประชุมซึ่งได้แสดงตนเข้าร่วมประชุมผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์
ด้วย

• การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกำหนดนี้ เป็นการประชุมโดยชอบด้วยกฎหมาย และ ห้ามมิให้ปฏิเสธ
การรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตามพระราชกำหนดนี้ เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งใน
คดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563

 

 




FaLang translation system by Faboba