5 Tax Point VAT จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดย

 


1. กรณีการขายสินค้าทั่วไป ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า

เว้นแต่ 1. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า 2. ได้รับชำระราคาสินค้า 3. ออกใบกำกับภาษี หากเกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ให้ถือว่า
ความรับผิดเกิดขึ้นแล้ว

เลขที่หนังสือ : กค 0702/4353
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษี
ข้อหารือ



: บริษัท ก. จำกัด (บริษัทฯ) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ขาย
สินค้า ให้กับสหกรณ์ที่ประกอบกิจการขนส่งและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ จึงขอทราบว่า บริษัทฯ ขายสินค้าให้กับสหกรณ์โดยไม่
ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มให้สหกรณ์ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย





: กรณีที่บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายสินค้าหรือ
ให้บริการกับลูกค้า บริษัทฯ มีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี
สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้งในทันที่ที่ความรับผิดในการเสียภาษี
มูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ลูกค้า ตามมาตรา 86
แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าลูกค้าดังกล่าวจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี
มูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ตาม


2. กรณีขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ หรือซื้อขายผ่อนชำระ ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคา
แต่ละงวด

เว้นแต่ 1. ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ 2. ออกใบกำกับภาษี หากเกิดขึ้นก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ให้ถือว่า
ความรับผิดเกิดขึ้นแล้ว

เลขที่หนังสือ : กค 0706/พ./9210
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าซื้อ
แนววินิจฉัย










: การที่บริษัทฯ ขายรถจักรยานยนต์ให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อได้ชำระเงินล่วงหน้าเป็นค่ารถ
จักรยานยนต์บางส่วน และทำสัญญาเช่าซื้อกำหนดจำนวนเงินผ่อนชำระเป็นงวดๆ
โดยเงินส่วนที่เหลือ บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวด
ที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวดนั้น เป็นการปฏิบัติชอบด้วยกฎหมายแล้ว สำหรับกรณี
ผู้ซื้อขอเปลี่ยนเป็นการขายซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยชำระเงินตามราคาขายเงินสดและ
ชำระราคารถจักรยานยนต์ก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดแรก เข้าลักษณะเป็นการขาย
สินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อที่ได้มีการรับชำระราคาสินค้าก่อนถึงกำหนดชำระราคา
ตามงวดที่กำหนดตามมาตรา 78(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับมูลค่าสินค้าส่วนที่เหลือจึงเกิดขึ้นเมื่อได้มีการรับชำระราคาสินค้า
บริษัทฯ ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับมูลค่าส่วนที่เหลือ
ที่ได้รับชำระทันทีตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร


3. กรณีการส่งออก/นำเข้า ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อถึงชำระอากรขาออก/ขาเข้า
เว้นแต่ 1. ไม่ต้องเสียอากรขาออก/ขาเข้า หรือ 2. ได้รับยกเว้นอากรขาออก/ขาเข้า ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่
มีการออกใบขนสินค้า

เลขที่หนังสือ : กค 0811/พ.01936
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษี
ข้อหารือ








: บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตและส่งออกสินค้า รายได้ส่วนใหญ่เกิดจากการส่งออก
สินค้าไปต่างประเทศ เมื่อบริษัทฯ ได้รับใบสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าต่างประเทศโดย
มีเงื่อนไขการชำระเงินโดยให้ลูกค้าต่างประเทศจ่ายเงินมัดจำค่าสินค้าล่วงหน้า 50%
ก่อนส่งมอบสินค้า และจ่ายเงินส่วนที่เหลืออีก 50% เมื่อส่งสินค้าลงเรือแล้ว
การส่งเงินชำระค่าสินค้าทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวข้างต้นลูกค้าต่างประเทศจะส่งผ่าน
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยโอนมาจากต่างประเทศ (T/T)
บริษัทฯ เข้าใจว่า บริษัทฯ จะต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อได้รับเงินมัดจำและเมื่อส่ง
สินค้าลงเรือเรียบร้อยแล้วโดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 จึงขอทราบว่า
ความเข้าใจของบริษัทฯถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย





: ตามมาตรา 78 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษี
มูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าโดยส่งออก ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออก
วางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก และตามมาตรา 86
แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนา
ใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าและการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันที
ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อ
สินค้าหรือผู้รับบริการ ส่วนสำเนาใบกำกับภาษีให้เก็บรักษาไว้ 


4. กรณีการให้บริการ ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ
เว้นแต่ 1. ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ 2. ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเอง หรือบุคคลอื่น หากเกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคา
ค่าบริการ ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ

เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม)/1082
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการรับจ้างผลิต
ข้อหารือ








: บริษัทฯ ประกอบกิจการรับจ้างผลิตรูปลอกสำหรับติดเซรามิคต่าง ๆ เฉพาะที่มี
ผู้ว่าจ้างเท่านั้นมิได้ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นการทั่วไป กรณีที่ลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่น
(บริษัทญี่ปุ่น) สั่งให้บริษัทฯ ผลิตรูปลอกสำหรับติดเซรามิค บริษัทญี่ปุ่นจะเปิด
L/C ให้กับบริษัทฯ เป็นค่ารูปลอกที่ว่าจ้าง และให้บริษัทฯ ส่งสินค้าให้แก่บริษัท
ก. จำกัด สำนักงานอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตภาชนะ
เซรามิค เพื่อทำการติดเผารูปลอกลงบนภาชนะเซรามิคของบริษัท ก. แล้วจึงบรรจุ
หีบห่อภาชนะเซรามิคที่ติดรูปลอกแล้วส่งออกไปยังบริษัทญี่ปุ่น เมื่อบริษัทฯ ส่งมอบ
รูปลอกให้แก่บริษัท ก. จำกัด ก็แจ้งไปยังบริษัทญี่ปุ่น เพื่อให้โอนเงินมาชำระค่าจ้าง
ผลิตรูปลอก ดังนี้ จะถือว่าการให้บริการดังกล่าวได้มีการใช้บริการในราชอาณาจักร
หรือต่างประเทศ เนื่องจากผู้จ่ายเงินค่ารูปลอกคือบริษัทญี่ปุ่น
แนววินิจฉัย





: กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่บริษัทฯ รับจ้างผลิตรูปลอกตามคำสั่งจ้างของ
บริษัทญี่ปุ่น แต่ส่งสินค้าให้ผู้ผลิตภาชนะเซรามิคในประเทศไทยถือเป็นการรับจ้าง
ทำของ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษี
มูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษี
มูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อมีการชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้
ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย ตามมาตรา 78/1 (1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร และเมื่อได้มีการใช้บริการในราชอาณาจักร บริษัทฯ จึงมีหน้าที่
ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ10.0 จากบริษัทญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง
ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร


5. กรณีพิเศษ

กิจกรรม VAT ความรับผิดในการเสีย VAT เว้นแต่
 การขายกระแสไฟฟ้า/ น้ำประปา
 / สินค้าไม่มีรูปร่าง
 ได้รับชำระราคาสินค้า


 มีการออกใบกำกับภาษีก่อน
 รับชำระราคา

 การขายสินค้าโดยชำระราคาด้วย
 การใช้บัตรเครดิต


 ส่งมอบสินค้า



 1.โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
 2.เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้
 บัตรเครดิต หรือ
 3.ได้ออกใบกำกับภาษี
 การให้บริการโดยชำระราคา
 ด้วยการใช้บัตรเครดิต

 มีการออกหลักฐานการใช้บัตร เครดิต

 มีการออกใบกำกับภาษีก่อน
 การออกหลักฐานการใช้บัตร เครดิต
 การขายสินค้าตามสัญญาจะ
 ขายสินค้า

 ส่งมอบสินค้า


 1.โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
 2.ได้รับชำระราคาสินค้า 
 3.ได้ออกใบกำกับภาษี
 การให้บริการที่กระทำใน
 ต่างประเทศและใช้บริการ
 นั้นในประเทศไทย

 ได้มีการชำระราคาค่าบริกาทั้งหมด
 หรือบางส่วน(ผู้จ่ายเงินค่าบริการ
 มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม
 ตามมาตรา 83/6(2))
 
กรณีรับโอนสิทธิในบริการที่
เคยเสีย VAT อัตรา 0%
 ได้รับชำระราคาค่าบริการ

 


เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการฯ ต้องออกใบกำกับภาษีทันที พร้อมกับ
ส่งมอบ
ให้ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร หากไม่ปฏิบัติตามจะมีความรับผิด ดังนี้
 กรณีไม่จัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทันที
- รับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89(5)
- และต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 90/2(3)
 กรณีจัดทำใบกำกับภาษี แต่ไม่ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทันที
- ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 90/2(3)


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 5 Tax Point VAT จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

 




FaLang translation system by Faboba