5 ประเด็นภาษีที่บริษัทต้องรู้ เมื่อให้กรรมการกู้ยืมเงิน

โดย

 



1. บริษัทจะต้องคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากกรรมการ เนื่องจาก...

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ
หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมิน
มีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้นตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงิน”

2. อัตราดอกเบี้ยที่บริษัทจะต้องคิดจากรรมการ
บริษัทนำเงินของตนที่มีอยู่ไปให้กู้ยืม ให้คิดตามอัตราดอกเบี้ย เงินฝากธนาคารประเภทเงินฝากประจำในเวลาที่มีการกู้ยืม
บริษัทนำเงินที่กู้ยืมมาจากบุคคลอื่นไปให้กู้ยืม ให้คิดตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ได้ให้กู้ยืมเงินที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียว
กัน หรือ คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในเวลาที่บริษัท ได้กู้ยืมเงินมา

3. ดอกเบี้ยที่บริษัทได้รับจะต้องยื่นแบบภธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นับจากวันที่บริษัทได้รับหรือ พึงได้รับ
ดอกเบี้ยนั้น

4. ดอกเบี้ยที่บริษัทได้รับจากการให้กู้ยืมเงินถือเป็นรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการ บริษัทต้องนำมารวมกับรายได้อื่น
เพื่อคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีที่มี
รายได้นั้น

5. บริษัทต้องทำสัญญาและติดอากรแสตมป์ เพื่อเป็นหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ามีการนำเงินให้กรรมการกู้ยืมจริง

เลขที่หนังสือ: กค 0811/172
วันที่: 1 มีนาคม 2543
เรื่อง: ภาระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร กรณีรายได้จากการให้กู้ยืมเงิน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65, มาตรา 91/2(5), มาตรา 104
ข้อหารือ: นาย ก. ได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรี
ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยแสดงว่ามีหนี้สินกับบริษัท ข. จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2540
เป็นหนี้เงินกู้จำนวน 100,000,000 บาท และมีผู้กล่าวหาร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ว่าหนี้สินจำนวนดังกล่าวเป็นเท็จ ซึ่งจากการตรวจสอบไม่ปรากฏหนี้จำนวนดังกล่าวในบัญชีงบดุลของบริษัทฯ ดังนั้น เพื่อ
ประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 291 และมาตรา 293
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงขอทราบว่า หากบริษัทฯ ได้ให้ นาย ก. กู้ยืมเงินจริง แต่ไม่ได้
ลงในบัญชีงบดุล
บริษัทฯ จะมีความผิดต่อกฎหมายใด อย่างไร และกรมสรรพากรจะมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างไร
แนววินิจฉัย: หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทฯ ได้ให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน และได้รับดอกเบี้ยจากการ
ให้กู้ยืมเงินดังกล่าว บริษัทฯ มีภาระภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ดังนี้
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดอกเบี้ยที่บริษัทฯ ได้รับจากการให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน ถือเป็นรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการ บริษัทฯ ต้องนำดอกเบี้ยจาก
การให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินมารวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีรายได้นั้น
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะบริษัทฯ
ให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน ถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(5)
แห่งประมวลรัษฎากร และรายรับจากดอกเบี้ยของบริษัทฯ คือฐานภาษี ในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/5(5)
แห่งประมวลรัษฎากร
3. อากรแสตมป์
สัญญากู้ยืมเงินของบริษัทฯ ถือเป็นตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ จึงต้องปิดแสตมป์ตามอัตราที่กำหนดไว้ใน
บัญชี ตามมาตรา 104 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท แห่งวงเงินให้กู้ยืม ต่อค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
แต่เมื่อคำนวณค่าอากรแล้วเกิน 10,000บาท ให้เสีย 10,000 บาท
4. กรณีบริษัทฯ ไม่ได้ดำเนินการเพื่อการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะกรมสรรพากรมีอำนาจตามประมวล
รัษฎากรที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตามข้อ 1 และข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น พร้อมเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และกรณีบริษัทฯ มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ในตราสาร
กรมสรรพากรมีอำนาจตามประมวลรัษฎากรที่จะเรียกเก็บเงินอากรจนครบตามข้อ 3 พร้อมเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรด้วย

เลขที่หนังสือ : กค 0702/560
วันที่ : 21 มกราคม 2558
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน - บาท กรรมการของบริษัทมี
6 คน กรรมการผู้มีอำนาจ คือ นาย ฮ. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ สำนักงานใหญ่ บริษัทฯ ไม่มี
สำนักงานสาขา และมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มวันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี บริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ.01) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2543 ประกอบกิจการประเภทให้บริการพิธีการศุลกากร freight forwarding ตัวแทนให้บริการ
ขนส่ง ขนถ่ายสินค้า บริษัทฯ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
แนววินิจฉัย :
1.กรณีบริษัทฯ นำเงินทุนหมุนเวียนบางส่วน (เงินฝาก) ไปให้บริษัท B จำกัด ซึ่งถือหุ้นบริษัทฯ ร้อยละ 42.499 กู้ยืมเงินโดย
มีการ ทำสัญญาและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋ว P/N ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 จำนวน 1 ฉบับ มูลค่าเงินในตั๋วสัญญาใช้เงิน
จำนวน 30,000,000 บาท บริษัท Bจำกัด ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋ว P/N เป็นผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในตั๋วสัญญาใช้เงิน
หรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อเป็นผลตอบแทนให้แก่บริษัทฯ ตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทฯ
สามารถดึงเงินออกทั้งจำนวน หรือบางส่วนได้เมื่อทวงถาม และการชำระคืนตั๋วสัญญาใช้เงินเผื่อเรียกจะชำระคืนภายในสองวัน
ทำการ โดยบริษัทฯ ต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรโดยใช้แบบฟอร์มขอชำระคืนให้กับ บริษัท Bจำกัด กรณีดังกล่าวเข้า
ลักษณะเป็นการให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืมเงิน หากการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีดอกเบี้ย หรือมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มี
เหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงิน ตามมาตรา 65 ทวิ (4)
แห่งประมวลรัษฎากร
2.กรณีตามข้อเท็จจริงที่บริษัท ฯ แจ้งว่า เงินทุนหมุนเวียนบางส่วน (เงินฝาก) ที่บริษัทฯ นำไปให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืมนั้น มี
แหล่งที่มาจาก การทำธุรกิจของบริษัทฯ เอง ในเบื้องต้นจึงมีประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและ
พิจารณาว่า บริษัทฯ ได้รับเงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวมาจากแหล่งเงินใด หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า เงินทุนหมุนเวียนบางส่วน
(เงินฝาก) ที่บริษัทฯ นำไปให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืมนั้น เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ได้มาจากเงินทุนจดทะเบียนได้รับชำระมูลค่าหุ้น
จากผู้ถือหุ้น หรือเงินกำไรสะสมจากการประกอบกิจการของบริษัทฯ ฯลฯ ถือเป็นกรณีบริษัทฯ นำเงินของบริษัทฯ ที่มีอยู่ไปให้
บริษัท Bจำกัด กู้ยืมหากเงินทุนหมุนเวียนที่บริษัทฯ นำไปให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืม เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ได้จากการกู้ยืมเงิน
จากสถาบันการเงินหรือบุคคลภายนอก ฯลฯ เพื่อนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ ถือเป็นกรณีบริษัทฯ
นำเงินที่กู้ยืมมาจากบุคคลอื่นไปให้บริษัท Bจำกัด กู้ยืม
3.กรณีบริษัทฯ ให้บริษัท B จำกัด กู้ยืมเงิน บริษัทฯ ต้องคิดดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยที่ได้ตกลงกัน แต่ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย
ดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าราคาตลาด ในวันที่ให้กู้ยืมเงิน ดังนั้น
(1)กรณีบริษัทฯ นำเงินของตนที่มีอยู่ไปให้กู้ยืม อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับหรือควรจะได้รับ ให้คิดตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ธนาคารประเภทเงินฝากประจำในเวลาที่มีการกู้ยืม
(2)กรณีบริษัทฯ นำเงินที่กู้ยืมมาจากบุคคลอื่นไปให้กู้ยืม อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับหรือควรจะได้รับ ให้คิดตามอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้ในวันที่ได้ให้กู้ยืมเงินที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในเวลาที่บริษัทฯ
ได้กู้ยืมเงินมาทั้งนี้ กรณีบริษัทฯ นำเงินไปให้กู้ยืม โดยไม่สามารถแยกแหล่งเงินทุนได้ว่ามาจากเงินของตนที่มีอยู่หรือ
เงินที่กู้ยืมมาจากบุคคลอื่น ให้คิดดอกเบี้ยที่ได้รับในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในเวลาที่บริษัทฯ ได้กู้ยืมเงินมา 


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 5 ประเด็นภาษีที่บริษัทต้องรู้ เมื่อให้กรรมการกู้ยืมเงิน

 




FaLang translation system by Faboba