11 มาตรการภาษีเยียวยา COVID-19

โดย

 



1. มาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ

• ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 1.5% (1 เม.ย. 63 – 30 ก.ย. 63)
• หากเข้า e-Withholding Tax ลดอัตราภาษีเหลือ 2% (1 ต.ค. 63 – 31 ธ.ค. 64)

2. มาตรการภาษีเพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่ายของผู้ประกอบการ
• ลดภาระดอกเบี้ยจ่าย SMEs ที่เข้าร่วมมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของรัฐบาล และมีการจัดทำบัญชีชุดเดียว
• หักรายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม 1.5 เท่า สำหรับดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 63-31 ธ.ค. 63

3. มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงานในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19
• หักรายจ่ายได้ 3 เท่าสำหรับค่าจ้างลูกจ้างในธุรกิจ SMEs ที่ได้จ่ายไปของเดือน เม.ย. 63- ก.ค. 63 และได้รับค่าจ้าง
ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน

4. มาตรการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศ กรณีเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
• กรณียื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต ได้รับคืนภายใน 15 วัน
• กรณียื่นแบบผ่านกรมสรรพากรพื้นที่ ได้รับคืนภายใน 45 วัน

5. มาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน
ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (กองทุน SSF)
• หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ไม่เกิน 200,000 บาท โดยซื้อระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 63-30 มิ.ย. 63

6. มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าตอบแทนในการเสี่ยงภัยของบุคลากรทางการแพทย์
และสาธารณสุข

• เงินได้ที่ได้รับจากการกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2563

7.  มาตรการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ
• ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป สามารถหักลดหย่อนประกันสุขภาพได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวม
กับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

8. มาตรการเลื่อนเวลายื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2562
• การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 ยื่นและชำระได้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563

9. มาตรการเลื่อนเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล
• การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 และภ.ง.ด.55 เฉพาะรายที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ ยื่นและชำระได้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563
• การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เฉพาะรายที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ ยื่นและชำระได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563

10. มาตรการเลื่อนเวลาการยื่นแบบและชำระภาษี
• สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องหยุดกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ที่ต้องยื่นแบบและชำระภาษีของเดือนมีนาคม 2563
ที่ต้องยื่นภายในเดือนเมษายน 2563 และเดือนเมษายน 2563 ที่ต้องยื่นภายในเดือนพฤษภาคม 2563
• ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 และ ภ.ง.ด.54 ยื่นและชำระได้จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563
• ยื่นแบบภ.พ. 30 ยื่นและชำระได้จนถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2563
• ยื่นแบบภ.พ. 36 ยื่นและชำระได้จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563
• ยื่นแบบภ.ธ.40 ยื่นและชำระได้จนถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 แต่ไม่รวมกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้า
หรือหากำไรที่ชำระในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
• แบบ อ.ส.4, อ.ส.4ก, อ.ส.4ข ที่ต้องยื่นและชำระภายในวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ขยาย
ออกไปถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

11. มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้ที่มิใช่
สถาบันการเงิน

• ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ และผ่อนปรนหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญให้
แก่เจ้าหนี้
• ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนและการจำนองสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
สามารถฟื้นฟูฐานะและกิจการ
• ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน และการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
จากร้อยละ 2 เหลือ ร้อยละ 0.01
• ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 63 – 31 ธ.ค. 64


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 11 มาตรการภาษีเยียวยา COVID-19

 




FaLang translation system by Faboba