3 กฎหมายภาษีใหม่กับสิ่งที่ต้องเตรียมรับมือ

โดย

 


6 ประเด็นกฎหมาย ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร


ในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) และกฎกระทรวงฉบับที่ 355  ประเด็นกฎหมายหลักที่
ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากรนั้นประกอบไปด้วย

1) ปี 2563 เริ่มเก็บข้อมูลเมื่อไร
คำตอบ คือ เริ่ม 1 มกราคม – 31 ธันวาคม โดยจะเก็บแบบนี้เป็นรายปี ตลอดไป และผู้มีหน้าที่ส่งให้สรรพากรจะต้องส่ง
ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป

2) ใครมีหน้าที่ส่งข้อมูลบ้าง
คำตอบ คือ กฎหมายกำหนดไว้อยู่ 2 หน่วยงาน คือ สถาบันการเงิน กับผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าใครเข้าข่ายตาม
นิยามสองกลุ่มนี้มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร

3) การนับข้อมูล นับแยกเป็นรายธนาคารหรือนับรวมทุกธนาคาร และเชื่อมโยงข้อมูลกันไหม
คำตอบ คือ แยกชัด ทุกอย่างแยกเป็นของใครของมัน แยกเป็นรายสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเงิน อิเล็กทรอนิกส์

4) การนับข้อมูล นับแยกเป็นรายบัญชีหรือนับรวมทุกบัญชี
คำตอบ คือ นับรวมทุกบัญชีแต่รวมทุกบัญชีที่เรามีอยู่กับธนาคาร สถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการ อิเล็กทรอนิกส์นั้น

5) กฎหมายนี้มีผลกับใคร
คำตอบ คือ มีกับทุกคนที่เป็นบุคคล ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามกฎหมาย

6) จำนวนครั้งนับแบบไหน
คำตอบ คือ นับ “เงินเข้า” รวมทุกบัญชีรวมกัน ตามหลักการที่เขียนมาในข้อ 3) และ 4) โดย...
* ถ้านับแล้ว จำนวนครั้งที่เงินเข้า ถึง 3,000 ครั้ง หรือมากกว่า = ส่งให้สรรพากร
* ถ้านับแล้ว จำนวนครั้งที่เงินเข้า ถึง 400 ครั้งหรือมากกว่า ต้องมาดูด้วยว่า จำนวนเงินรวมที่เข้าถึง 2 ล้านบาทหรือไม่
ถ้าถึงทั้งสองเงื่อนไขที่ว่ามา = ส่งให้สรรพากร 

โดยคำว่า เงินเข้า หมายถึง เงินเข้าบัญชีทุกวิธี ซึ่งจำนวนครั้ง = รวมทุกบัญชี และจำนวนเงิน = รวมทุกบัญชีด้วยเช่น
เดียวกัน 


  บางส่วนจากบทความ “3 กฎหมายภาษีใหม่กับสิ่งที่ต้องเตรียมรับมือ”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 195 เดือนมีนาคม  2563

 


Tax Talk: Tax knowledge: Tax Bugnoms 
วารสาร : CPD&ACCOUNT มีนาคม 2563


FaLang translation system by Faboba