ผลกระทบของนักบัญชีเมื่อมาตรฐาน NPAES เปลี่ยนแปลง (ตอนจบ)

โดย

 


ประเด็นนี้จะพิจารณาในรายละเอียดของที่มีของมูลค่าที่จะนำมาใช้เปรียบเทียบกับราคาทุน ซึ่งมูลค่าดังกล่าวได้นำเอา
แนวคิดด้านการเงินเข้ามาผสมผสานเพื่อให้เกิดความสมเหตุสมผลมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดดังนี้

1. การพิจารณาผลตอบแทนการลงทุน
2. การคิดลดกระแสเงินสด
3. การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง

สามหลักการข้างต้นนี้ นำไปประยุกต์ใช้ในทางบัญชีตามแนวความคิดใหม่ได้หลากหลาย เช่น การวัดมูลค่ายุติธรรม
และการประมาณการต่างๆ เช่น การประมาณการหนี้สิน เป็นต้น

อนึ่ง หากเรานำเอาแนวคิดมาประยุกต์ใช้กับประเด็นทางบัญชีในส่วนของสินทรัพย์และหนี้สิน เราจะพบว่าสามารถ
นำไปประมาณการมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินได้  

การประยุกต์แนวคิดตามมาตรฐานการบัญชี หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบัน เพื่อการวัดมูลค่าของ
ทรัพย์สินซึ่งอาจนำไปสู่การด้อยค่าได้ ซึ่งความหมายของด้อยค่าเปรียบเทียบกับแนวคิดการตัดสินใจลงทุนระยะยาว
คือ การขาดทุนจากการลงทุนนั่นเอง และหากมีกำไรหรือสามารถมีผลตอบแทนตามต้องการแล้ว จะไม่เกิดการ
ด้อยค่า ทำให้ไม่มีการปรับปรุงมูลค่าแต่อย่างใด

สำหรับการประยุกต์แนวคิดเพื่อใช้สำหรับหนี้สินนั้น  มีตัวอย่างประยุกต์ใช้กับการประมาณการหนี้สิน ซึ่งนักบัญชี
เริ่มพบกับการประยุกต์แนวคิดดังกล่าวนี้แล้ว เช่น การประมาณการหนี้สินจากผลประโยชน์พนักงาน ซึ่งหากใช้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน จะเป็นการประมาณการกระแสเงินสดสุทธิที่คาดว่า
จะจ่ายในอนาคต เป็นหนี้สินที่ต้องรับรู้ ซึ่งเงื่อนไขที่สำคัญที่ทำให้ต้องมีการรับรู้และใช้แนวคิดในเรื่อง
การประมาณการกระแสเงินสดสุทธิที่คาดว่าจะจ่าย ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้

การรับรู้ประมาณการหนี้สิน
ประมาณการหนี้สิน (Provisions) เป็นหนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชำระ
ซึ่งกิจการจะรับรู้เป็นประมาณการหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

1. กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบัน (Present Obligation) ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีตไม่ว่าภาระผูกพันนั้น
จะเป็นภาระผูกพันตามกฎหมาย (Legal Obligation) หรือภาระผูกพันจากการอนุมาน (Constructive Obligation) 

2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ (Probable) ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของกิจการเพื่อ
จ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว

3. สามารถประมาณจำนวนของภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ (Reliable Estimate)

เรานำเงื่อนไขในเรื่องความสามารถประมาณจำนวนของภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ ไปพิจารณาหาวิธีที่จะประมาณการ
ให้ได้อย่างน่าเชื่อถือ จึงได้มีการประยุกต์และนำเอาแนวคิดการประมาณการกระแสเงินสดสุทธิมาใช้

จากแนวทางการประยุกต์ดังกล่าวมานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพยายามวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สิน ในงบแสดงฐานะ
การเงินที่สะท้อนมูลค่าที่เหมาะสม ซึ่งการเปลี่ยนแปลง NPAE ในอนาคตคาดว่าจะเริ่มใช้แนวคิดดังกล่าวนี้ เนื่องจาก
เป็นมาตรฐานการบัญชี NPAE เป็นแนวทางสากล ซึ่งมีแนวคิดในการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินไว้แล้ว 


  บางส่วนจากบทความ "ผลกระทบของนักบัญชีเมื่อมาตรฐาน NPAES เปลี่ยนแปลง" (ตอนจบ)
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 191 เดือนธันวาคม 2562

 


Accounting Style : CPD Talk : สุรพล ถวัลย์วัชชจิต
วารสาร : CPD&ACCOUNT ธันวาคม 2562


FaLang translation system by Faboba