กรมสรรพากรยกระดับการให้บริการ คืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ด้วยเทคโนโลยี Blockchain

โดย

 


กรมสรรพากรร่วมมือกับ 8 หน่วยงานภาครัฐภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย กรมบัญชีกลาง
กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมธนารักษ์
สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานโครงการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)
เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสถาปัตยกรรมเพื่อรองรับภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ 

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ปัจจุบันรายได้จากการท่องเที่ยว เป็นรายได้สำคัญ
ที่ก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐบาลจึงมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว หลายด้าน
การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวต่างชาติของกรมสรรพากรเป็นนโยบายหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่าน
มาตรการสิทธิประโยชน์ด้านภาษี นโยบายนี้ก่อให้เกิดการกระตุ้นการบริโภค เกิดการหมุนเวียน เงินในประเทศมากขึ้น
กรมสรรพากรยังมีนโยบายในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวผ่านตัวแทนในเมือง (Downtown) และการใช้
ดิจิทัลเพื่อการอำนวยความสะดวกในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวอีกด้วย ซึ่งในระยะที่ผ่านมามีจำนวน
นักท่องเที่ยวที่มาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มปีละไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน ยอดมูลค่าการซื้อสินค้า ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
และมีจำนวนนักท่องเที่ยวขอคืนภาษี เฉลี่ย 2 แสนรายต่อเดือน ประกอบกับกระทรวงการคลังได้นำสถาปัตยกรรม
เทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการยกระดับ ประสิทธิภาพ โครงสร้างระบบงานของหน่วยงานในกระทรวงการคลัง
ซึ่งเทคโนโลยีBlockchain นี้จะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนงานต่างๆ ที่ต้องให้บริการร่วมกัน ตามภารกิจภายใต้
สังกัดกระทรวงการคลัง 

กรมสรรพากรจึงบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ กรมศุลกากร สำนักงาน
ตรวจคนเข้าเมือง ร้านค้า VRT และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาระบบงาน ผ่านเทคโนโลยี
Blockchain เพื่อให้ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัย
โดยพัฒนาระบบงานให้เหมาะสม สอดคล้องกับกระบวนการทำงานจริงในทุกๆ ด้าน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้ 

1. นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถใช้ Mobile Application ในการขอคืน
ภาษี สามารถเลือกช่องทางการรับคืนเงิน และติดตามสถานะการคืนได้สะดวกรวดเร็ว

2. ผู้ประกอบการร้านค้า VRT สามารถบริหารจัดการ การจัดทำคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) รวมทั้ง
ระบบงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร และเจ้าพนักงานกรมศุลกากร สามารถลดขั้นตอนในการคืนภาษีฯ
ลดปริมาณการใช้กระดาษให้น้อยลง สามารถตรวจสอบการคืนเงินภาษีได้ทุกขั้นตอน ช่วยลดข้อผิดพลาดของ
เจ้าหน้าที่ในการพิจารณาคืนภาษี ผู้บริหารมีข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน และสามารถนำมาใช้ในการบริหาร
การจัดเก็บภาษีอากรได้

4. กรมสรรพากรมีระบบงานคืนภาษีฯ ที่ทันสมัย และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลตาม ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ช่วยลดงบประมาณในการจัดพิมพ์ และจัดเก็บแบบคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) เป็นการช่วยยกระดับงาน
บริการด้านการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวของประเทศไทย ให้ทัดเทียมกับนานา ประเทศ

5. เป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ด้วยกลยุทธ์ D2RIVE ของกรมสรรพากรให้เห็น เป็นรูปธรรม และ
ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบงานดิจิทัลมา
ประยุกต์ใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส


Learning : Happening : กองบรรณาธิการ
วารสาร : CPD&ACCOUNT พฤศจิกายน 2562


FaLang translation system by Faboba