แนวทางปฏิบัติการทำลายของเสีย สินค้ามีตำหนิและหมดอายุ ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักสรรพากร

โดย

 


ป.79/2541 การทำลายของเสีย สินค้ามีตำหนิ หมดอายุฯ
การตัดจ่ายของเสียเกินปกติที่เกิดจากกระบวนการผลิต สินค้าเสื่อมคุณภาพ สินค้ามีตำหนิสินค้าหมดสมัยนิยม
สินค้าหมดอายุ และเศษซากในรอบบัญชีที่ทำลาย

อยู่ในเขต EPZ (1) ได้รับ BOI (2) ของเก็บไม่ได้ (3.1) ของเก็บได้ (3.2)
1. ตามวิธีของการ
นิคมฯ
2. เชิญผู้สอบบัญชี
เป็นพยาน
3. ผู้สอบรับรองเป็น
หนังสือแนบงบแสดง
ฐานะการเงิน






1. ตาม BOI กำหนด
2. เชิญผู้สอบบัญชี
เป็นพยาน
3. ผู้สอบรับรองเป็น
หนังสือแนบงบแสดง
ฐานะการเงิน







1. ตามสภาพสินค้า
2. รับอนุมัติจากผู้บริหาร
3. เป็นสินค้ารับคืน
(1) มีหลักฐานรับคืน
(2) มีหลักฐานขาย
(3) มีชื่อผู้ส่ง-รับคืน
(4) พนักงานคลังเก็บ
รักษาแจ้งบัญชีทราบ
4. ตั้งกรรมการทำลาย
ลงชื่อเป็นพยาน
5. ผู้สอบเป็นพยาน


1. ทำลายตาม (3.1)
2. แจ้งสรรพากร
พื้นที่ก่อนทำลาย
30 วัน
3. ถ้ามีหน่วยราชการ
ควบคุมให้ทำตาม
ระเบียบราชการ ไม่ต้อง
แจ้งสรรพากรก็ได้







เลขที่หนังสือ : กค 0706/308
วันที่ : 15 มกราคม 2551
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายสินค้า
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี และมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : บริษัท ค. ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายอาหารธัญพืช โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้
1. บริษัทฯ ได้ตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2549 พบว่า มีสินค้าเน่าเสียจำนวนหนึ่ง และไม่สามารถ
นำออกขายได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ได้ตรวจนับสินค้าคงเหลือ จึงพิจารณา
รายการสินค้าคงเหลือที่ชำรุดเสียหาย
2. บริษัทฯ ได้ย้ายสถานประกอบการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 บริษัทฯ ตรวจพบว่ามีสินค้าที่อยู่ในสภาพที่ชำรุด
เสียหาย และเน่าเสียอีกจำนวนหนึ่งฝ่ายโรงงานจึงเสนอให้มีการทำลายสินค้าที่ชำรุด เสียหาย และเน่าเสีย ซึ่งไม่
สามารถจำหน่ายได้
บริษัทฯ จึงขอทราบว่า กรณีบริษัทฯ ทำลายสินค้าที่ชำรุด เสียหาย และเน่าเสียดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องเสียภาษี
มูลค่าเพิ่มหรือไม่ และบริษัทฯ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
แนววินิจฉัย : กรณีสินค้าเน่าเสียเสื่อมชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย ที่โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้
หากบริษัทฯ ได้ทำลายสินค้าซึ่งชำรุดบกพร่องนั้นตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดแล้ว ไม่ถือเป็นการขาย
สินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้า
ที่ได้ทำลาย และบริษัทฯ 
มีสิทธิตัดต้นทุนที่เหลือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้รับอนุมัติให้
ทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายสินค้าแล้วให้มีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วย
ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานใน
การทำลายเพื่อใช้เป็น หลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งเชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย ทั้งนี้
บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายก็ได้


เลขที่หนังสือ : กค 0706/5525
วันที่ : 4 มิถุนายน 2550
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายของเสีย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : 
1. บริษัท บ. จำกัด ประกอบกิจการขายส่งเวชภัณฑ์ยา แจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เข้าร่วมเป็นพยานใน
การทำลายสินค้า (เวชภัณฑ์) ของเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 มูลค่ารวม 3,146,187.16 บาท
ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับคืนจากลูกค้าเนื่องจากเสื่อมสภาพ มีตำหนิ หมดอายุ หรือหมดสมัยนิยม และได้ผ่านการ
ตรวจสอบโดยเภสัชกรประจำบริษัทฯ ว่าไม่สามารถนำมาจำหน่ายได้อีก บริษัทฯ ได้ตั้งคณะกรรมการจากฝ่ายการ
ตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายประกันคุณภาพและแผนกคลังสินค้า เพื่อรับรองปริมาณและมูลค่าของสินค้าที่เสื่อมสภาพ
2. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ได้แจ้งให้บริษัทฯ ดำเนินการโดยต้องมีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วยฝ่ายคลังสินค้า
ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขายหรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) เข้าร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลาย
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีพร้อมทั้งเชิญผู้สอบบัญชีเข้าเป็นพยานในการทำลาย ทั้งนี้ เมื่อดำเนิน
การทำลายแล้วเสร็จให้บริษัทฯ ส่งรายงานการประชุมหรือการอนุมัติให้ทำลายสินค้าโดยมีผู้มีอำนาจ รายละเอียด
ที่ได้ทำลายจริงโดยมีบุคคลอย่างน้อยตามที่กล่าวข้างต้นและผู้สอบบัญชีที่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์และได้ลง
ลายมือชื่อไว้เป็นพยาน พร้อมแจ้งให้ทราบด้วยว่า ได้ทำลายสินค้าดังกล่าวด้วยวิธีการใด เศษซากหรือสินค้าที่
ทำลายแล้วนั้นจะนำไปใช้หรือจำหน่าย ได้หรือไม่ อย่างไร
3. เนื่องจากบริษัทฯ ไม่มีสถานที่และเครื่องมือทำลายสินค้าจึงได้ว่าจ้างบริษัท ก. จำกัด ทำลายสินค้าด้วยวิธี
บดทับแล้วฝังกลบ หลังจากนั้นบริษัทฯ ได้มีหนังสือ 2 ฉบับ รายงานการทำลายสินค้าเพิ่มเติมต่อสำนักงานสรรพากร
โดยมีภาพถ่ายเป็นหลักฐานแต่ไม่ได้แจ้งมูลค่าสินค้าที่ทำลายจริง และไม่ได้แจ้งว่าเศษซากสามารถนำไปใช้หรือ
จำหน่ายหรือไม่
(1) การทำลายสินค้าดังกล่าว บริษัทฯ สามารถนำมาถือเป็นรายจ่าย ได้หรือไม่อย่างไร
(2) ถ้าถือว่าเป็นรายจ่ายได้ให้ถือมูลค่าตามที่บริษัทฯ แจ้งการทำลายต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ก่อนการทำลาย
ใช่หรือไม่ เนื่องจากภายหลังการทำลายแล้วไม่มีการแจ้งมูลค่าที่ได้ทำลายจริงเพื่อทราบ
แนววินิจฉัย : กรณีบริษัท บ. จำกัด ประกอบกิจการขายส่งเวชภัณฑ์ยา ได้รับคืนสินค้าเวชภัณฑ์ยาจากลูกค้า
ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ บริษัทฯ จึงมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ เข้าร่วม
เป็นพยานในการทำลายสินค้า กรณีในวันทำลายสินค้าไม่มีผู้สอบบัญชีหรือผู้แทนมาเป็นพยานรับรองการทำลาย
สินค้าเนื่องจากบริษัทฯ ได้เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่ ณ วันที่ทำลายสินค้า และบริษัทฯ ไม่ได้แจ้งมูลค่าที่ทำลายจริง
และไม่ได้แจ้งว่าเศษซากสวามารถนำไปใช้หรือจำหน่ายนั้น เนื่องจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541ฯ
ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เป็นเพียงคำสั่งที่กำหนดให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวปฏิบัติใน
การตรวจสอบ และแนะนำการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการทำลายของเสียเท่านั้น ดังนั้น หากบริษัทฯ มี
เอกสารและหลักฐานที่ชัดแจ้งสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการทำลายสินค้าดังกล่าวจริง บริษัทฯ จึงมีสิทธินำมาถือเป็น
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) และ (14)
แห่งประมวลรัษฎากร


กรณีสินค้าใกล้หมดอายุ ชำรุด เสียหาย ตกรุ่น ถ้าไม่ทำลาย แต่จะขายต่ำกว่า
ราคาตลาด/ ต่ำกว่าราคาทุน

เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม)/134
วันที่ : 29 มกราคม 2542
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขายสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี และมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตอาหารทะเลแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก ทุก ๆ ปี บริษัทฯ จะมีสินค้า
คงเหลือค้างสต๊อกเป็นจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยสินค้าเหลือจากการส่งออกสินค้าไม่ได้มาตรฐานสินค้า
ใกล้หมดอายุ พร้อมทั้งบรรจุภัณฑ์ และวัตถุดิบที่ไม่สามารถใช้ในการผลิต เนื่องจากมีการเปลี่ยนสูตรการผลิต
เปลี่ยนรูปแบบ โดยปกติในปีที่ผ่าน ๆ มา บริษัทฯ จะทำหนังสือแจ้งขอทำลายสินค้าเหล่านี้ต่อกรมสรรพากร
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้สอบบัญชีเข้าสังเกตการณ์ด้วย การทำลายสินค้าดังกล่าวจะใช้วิธีฝังดินและเผาทิ้ง แต่สำหรับ
ในปีนี้บริษัทฯ ประสงค์จะขายสินค้าใกล้หมดอายุ สินค้าหมดอายุ สินค้าที่เหลือจากการส่งออก สินค้าไม่ได้
มาตรฐาน และวัตถุดิบที่นำไปใช้ผลิตไม่ได้แล้ว โดยขายในราคาต่ำกว่าราคาต้นทุน และขายบรรจุภัณฑ์ที่มี
ตำหนิไม่ใช้แล้วให้กับโรงงานต่าง ๆ ในราคาต่ำกว่าต้นทุนเพื่อนำไปรีไซเคิลพร้อมทั้งทำหนังสือแจ้งขอทำลาย
สินค้าตามวิธีดังกล่าวต่อสรรพากรจังหวัด และผู้สอบบัญชีให้เข้าสังเกตการณ์ จึงขอทราบว่า
1. การทำลายสินค้าโดยวิธีการขายดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ สามารถปฏิบัติได้หรือไม่
2. หากปฏิบัติได้ วิธีที่แจ้งไว้ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร
3. หากปฏิบัติไม่ได้ บริษัทฯ ควรทำอย่างไร จึงจะสามารถขายสินค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุนได้
4. ทางบริษัทฯ มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น บริษัทสอบบัญชีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอ
การค้าไทย ซึ่งบริษัทฯ เป็นสมาชิกอยู่เป็นผู้รับรอง กรมสรรพากรจะยอมรับหรือไม่
แนววินิจฉัย : 
1. การลงบัญชีต้นทุนหรือตัดรายจ่ายของ “ของเสียตามปกติ” ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ให้ถือเป็นส่วนหนึ่ง
ของต้นทุนของผลิตภัณฑ์หน่วยที่ดีด้วย ส่วน “ของเสียเกินปกติ” ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้าที่เสื่อม
คุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุและเศษซากหากบริษัทฯประสงค์จะทำลาย
สินค้าดังกล่าว โดยสามารถตัดเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำลายนั้นได้
บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541 เรื่อง แนวทางปฏิบัติกรณีการทำลายของเสีย
สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยมสินค้าที่หมดอายุและเศษซาก ลงวันที่
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
2. กรณีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ประสงค์จะขายสินค้าใกล้หมดอายุ สินค้าหมดอายุ สินค้าที่เหลือจากการส่งออก
สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน วัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ที่มีตำหนิไม่สามารถนำไปใช้ในการผลิต โดยขายในราคาต่ำกว่า
ต้นทุน ซึ่งมิใช่เป็นการทำลายสินค้า แต่เป็นการโอนทรัพย์สิน โดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด หากได้มี
การตรวจสอบสภาพสินค้าตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนดไว้ และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็น
สินค้าใกล้หมดอายุ หมดอายุ ไม่ได้มาตรฐาน หรือเศษซากดังกล่าว พร้อมทั้งจะต้องมีบุคคลร่วมสังเกตการณ์
ประกอบด้วยฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชี โดยลงลายมือชื่อเป็นพยานในการขาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานใน
การบันทึกบัญชี และได้ขายสินค้าไปในราคาต่ำกว่าต้นทุน ถือได้ว่าบริษัทฯ โอนทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่า
ราคาตลาด โดยมีเหตุอันสมควรไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ ไม่จำเป็น
ต้องให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับรองอีกแต่ประการใด


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : แนวทางปฏิบัติการทำลายของเสีย สินค้ามีตำหนิและหมดอายุ ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักสรรพากร

 


FaLang translation system by Faboba