นักวิทย์พร้อมประกาศสงครามกับขยะอวกาศ!?

โดย ปรีดิวิชญ์ พนมยงค์

 

Space debris objects based on actual density data

    
     หลังเหตุการณ์ดาวเทียมของสองชาติมหาอำนาจโคจรมาชนกันกลางอวกาศเมื่อสัปดาห์ ก่อน ก็ปรากฎว่ามีลูกไฟปริศนาพุ่งตกลงมาจากท้องฟ้าของเมืองเท็กซัส สร้างความแตกตื่นวุ่นวายจนเกิดข้อโต้เถียงตามมาอีกครั้งถึงภยันตรายจากเศษ ซากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก เป็นชนวนให้นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านขยะอวกาศต้องมาถกกันที่กรุง เวียนนาสัปดาห์นี้ เพื่อหาหนทางในการจัดการกับเศษซากเหล่านั้น รวมถึงขยะอวกาศจำนวนมหาศาลที่ถูกทิ้งไว้ตั้งแต่ครึ่งศตวรรษแรกของการสำรวจ อวกาศ ซึ่งกำลังเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนน่าวิตก
     
     ต้องยอมรับว่าปัญหาขยะอวกาศ เป็นปัญหาที่ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าจะจัดการกับมันอย่างไร นายริชาร์ด โครวเธอร์ หนึ่งในตัวแทนที่ประชุมจากอังกฤษ กล่าวว่า ดาวเทียมทั้งหลายควรมีระบบส่งตัวกลับโลกโดยอัตโนมัติเมื่อภารกิจเสร็จสิ้น และให้เผาไหม้อย่างปลอดภัยในชั้นบรรยากาศ ส่วนองค์กรด้านอวกาศนานาชาติเสนอการติดตั้งบอลลูนบนเศษชิ้นส่วน เพื่อเพิ่มแรงดึงกลับมายังโลก อีกความเห็นเสนอให้ใช้ เชือกลากไฟฟ้าพลศาสตร์ (Electrodynamic Tether) ขนาด 10 ไมล์ เพื่อควบคุมเศษซากให้ตกเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ และอีกหลายความเห็นที่ยากต่อการนำไปปฏิบัติ เพราะการกำจัดขยะอวกาศนอกจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงแล้วยังมีความเสี่ยงอีกมาก มาย

     พื้นที่อวกาศรอบโลกที่เคยว่างเปล่า จะมีก็เพียงอุกกาบาตและอนุภาคขนาดจิ๋วพุ่งผ่านไปมา ปัจจุบันกลับเต็มไปด้วยเศษซากที่โคจรไปรอบโลก ซึ่งเป็นเศษซากของยานอวกาศ ดาวเทียม หรือแม้กระทั่ง ถุงมือ จากนักบินอวกาศที่หลงลืมไว้เมื่อครั้งปฏิบัติภารกิจนอกสถานีอวกาศ ขยะอวกาศเหล่านี้สร้างปัญหาอย่างมากให้กับการปฏิบัติภารกิจอื่นๆในอวกาศ เนื่องจากเป็นวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก เทียบเท่ากับความเร็วกระสุนปืน แม้มีขนาดไม่ถึง 1 มม. หากพุ่งเข้าใส่ยานอวกาศก็จะทำให้เกิดความเสียหายได้ เช่น กรณีกระจกหน้าต่างของกระสวยอวกาศที่ถูกเศษสีขนาดประมาณ 0.2 มม. กระแทกเข้าใส่ ทำให้เกิดหลุมขนาด 4 มม. แค่ค่าซ่อมกระจกก็เป็นเงินกว่า 50,000 ดอลลาร์ โดยทางนาซ่าต้องทำการเปลี่ยนกระจกหน้าต่างถึงสองบานในทุกเที่ยวบิน

     นักวิจัยประเมินว่าเศษซากทีมีขนาดใหญ่กว่า 10 ซม. มีอยู่ประมาณ 18,000 ชิ้น แต่ถ้านับรวมเศษซากที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม.ด้วยแล้ว จำนวนจะเพิ่มขึ้นไปเป็นหลักสิบล้านชิ้นเลยทีเดียว การเพิ่มจำนวนของเศษซากส่วนหนึ่งเกิดจากการยิงจรวดขีปนาวุธเพื่อทำลายดาว เทียมที่ไม่ใช้งานแล้วของทั้งจีนและสหรัฐอเมริกาในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมาและ จากการชนกันของดาวเทียมครั้งล่าสุด ซึ่งเศษซากเหล่านั้นจะปกคลุมโลกไปเป็นหมื่นปี

     นายนิโคลัส แอล จอห์นสัน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำนาซ่า คาดการณ์ว่า โอกาสในการพุ่งชนกันจะเกิดขึ้นเป็นเงาตามตัวของจำนวนดาวเทียมและเศษซากและจะ มากขึ้นเป็นสิบๆเท่าในปี 2050 หนทางแก้ปัญหาระยะยาวก็คงจะต้องขึ้นไปเก็บกวาดขยะเหล่านั้น หรือไม่ก็ผลักมันให้ไกลออกไปก่อนทีจะก่อให้เกิดความเสียหาย

     อีกด้านหนึ่ง การพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมในรูปแบบต่างๆ ทั้งการทหาร สื่อสาร แผนที่ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการดำเนินกิจกรรมด้านอวกาศที่มากขึ้น ถึงจะมีประโยชน์แต่ก็ส่งผลกระทบเรื่องขยะอวกาศ ซึ่งในอนาคตแต่ละประเทศก็จะแข่งกันมีดาวเทียมของตัวเองมากๆ เพื่อใช้ในการขยายอำนาจ ดังที่ทราบกันว่าทั้งสหรัฐฯ จีน รัสเซีย อินเดีย ฯลฯ ก็เริ่มที่จะใช้อวกาศเป็นสมรภูมิรบกันแล้ว...

     ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการกำจัดขยะอวกาศ?

 เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับขยะอวกาศ

  • เศษ ซากที่เก่าที่สุด ที่ยังคงอยู่ในวงโคจรคือดาวเทียมดวงที่สองของสหรัฐฯ ชื่อว่า Vanguard I ถูกยิงเข้าสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1958 ซึ่งมีเวลาปฏิบัติการเพียง 6 ปี
  • ในปี 1965 นักบินอวกาศของสหรัฐฯ Edward White บนยาน Gemini 4 ทำถุงมือหลุดลอยไปในอวกาศระหว่างปฏิบัติการ space walk หนึ่งเดือนต่อมา ถุงมือนั้นยังคงอยู่ในวงโคจรด้วยความเร็ว 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และกลายเป็นเครื่องแต่งกายของมนุษย์ที่อันตรายที่สุดในประวัติศาสตร์
  • ใน เวลา 10 ปีของการปฏิบัติการในอวกาศ สถานีอวกาศเมียร์ ปล่อยขยะออกสู่วงโคจรมากกว่า 200 ชิ้น และส่วนใหญ่เป็น ถุงขยะ ที่เกิดจากนักบินที่ปฏิบัติงานบนสถานีอวกาศ
  • ระบบต่อต้านดาวเทียมของ ประเทศจีน ที่ทำลาย ดาวเทียมพยากรณ์อากาศเฟิงหยุน-1C ในวันที่ 11 มกราคม 2007 เป็น เหตุการณ์ที่สร้างเศษซากขยะอวกาศ ที่เลวร้ายที่สุด ในประวัติศาสตร์ 50 ปีของการปฏิบัติงานในอวกาศของมนุษยชาติ
FaLang translation system by Faboba