ประเด็นปัญหาการรับรู้รายการทางบัญชี
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกกับ Incoterms 2020
(หลักสูตรใหม่ปี 2567)
• ปัญหา Incoterms กับจำนวนรูปแบบและเงื่อนไขของ Incoterms 2020 มีอะไรบ้าง • ผลกระทบของ Incoterms 2020 กับการบันทึกบัญชี และการรับรู้รายการทางบัญชีธุรกิจนำเข้า-ส่งออก • ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต่อธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
วิทยากรโดย ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์
หัวข้อสัมมนา
1. Incoterms คืออะไร ความเป็นมา และนิยามต่างๆ 2. จำนวนรูปแบบและเงื่อนไขของ Incoterms 2020 มีอะไรบ้าง3. หลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติและการเตรียมพร้อมด้านเอกสารทางบัญชีธุรกิจนำเข้า–ส่งออก 3.1 กระบวนการการดำเนินธุรกิจสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก 3.2 ขั้นตอนงานบัญชีที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก พร้อมประเด็นทางบัญชีการเงิน กับผลกระทบที่เกิดขึ้นทางบัญชี 3.3 หลักการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับใบขนส่งสินค้าขาเข้าและใบขนส่งสินค้าขาออก 3.4 การวางระบบบัญชี เอกสารทางบัญชี ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก 3.5 การเตรียมเอกสารทางบัญชีสำหรับบันทึกบัญชีของธุรกิจนำเข้า–ส่งออก
4. ผลกระทบของผู้นำเข้า-ส่งออกกับ Incoterms 2020 กับการบันทึกบัญชี5. การชำระเงินค่าซื้อสินค้าจากต่างประเทศกับผลกระทบต่อ Incoterms 2020 5.1 Advance Payment 5.2 Open Account 5.3 Documentary Bill for Collection 5.4 Documentary Letter of Credit6. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 ต่อธุรกิจนำเข้า-ส่งออก7. หลักเกณฑ์การรับรู้รายการให้สอดคล้องตามมาตรฐานการบัญชีและ Incoterms 2020 สำหรับธุรกิจนำเข้า - ส่งออก 7.1 การรับรู้รายได้ 7.2 การรับรู้ค่าใช้จ่าย 7.3 การรับรู้สินทรัพย์ถาวร 7.4 การรับรู้สินค้าคงเหลือ
8. ประเด็นข้อสงสัยในการรับรู้รายการทางบัญชีที่ถูกต้องสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก 8.1 ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการนําเข้า-ส่งออกจะบันทึกเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย 8.2 ค่าใช้จ่ายในการส่งออกและนําเข้า เช่น ค่าจ้างชิปปิ้งออกของ ค่าธรรมเนียม จะบันทึกบัญชีอย่างไร 8.3 ค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่เรียกเก็บต้นทางกับปลายทางจะบันทึกบัญชีอย่างไร 8.4 ค่าใช้จ่ายในการทำลายสินค้าในต่างประเทศที่ลูกค้าแจ้งว่าไม่ได้มาตรฐาน 8.5 การบันทึกบัญชีสินค้าเสียหายระหว่างทาง ทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไร 8.6 การบันทึกบัญชีค่าขนส่งทางเรือ, ทางอากาศยาน, Freight Forwarder และค่าขนส่งทางบกทั้งในและต่างประเทศ 8.7 สินค้าตัวอย่าง สินค้าส่งออกเพื่อซ่อม, เช็คสภาพ จะบันทึกบัญชีอย่างไร 8.8 การโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้าให้ต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนใช้ในการคำนวณและบันทึกบัญชี 8.9 การบันทึกบัญชี การรับเงินจากต่างประเทศ (การรับชำระจากลูกหนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกต้อง) 8.10 การวิเคราะห์เอกสารใบขนสินค้า เพื่อการลงบัญชี อย่างไรจึงจะถูกต้อง ข้อควรระมัดระวัง และรายละเอียดที่ถูกต้องเกี่ยวกับนำเข้า 8.11 ลูกหนี้ในต่างประเทศทางบัญชีจะดำเนินการอย่างไร และจะตัดหนี้สูญได้หรือไม่ 8.12 ลูกค้าขอเคลมสินค้า เรียกเก็บค่าสินค้าที่ไม่เป็นไปตามสเป็กที่กำหนด บัญชีต้องดำเนินการอย่างไร พร้อมประเด็นปัญหาที่กระทบ 8.13 การส่งสินค้าไปให้สาขา ตัวการ ตัวแทนในต่างประเทศ จะบันทึกบัญชีและจัดทำบัญชีสินค้าอย่างไร 8.14 การบัญชีเกี่ยวกับซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าและผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศที่เกินในรอบระยะบัญชี 8.15 การขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อนําติดตัวออกไปนอกราชอาณาจักรเอง โดยมิได้กระทําพิธีการศุลกากร ทางบัญชีจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง 8.16 การส่งออกสินค้าของโรงงานในไทยโดยผ่านตัวแทนในการส่งออก ทางบัญชีจะต้องทําการบันทึกรายการทางบัญชีอย่างไร 8.17 การส่งสินค้าไปต่างประเทศโดยทางไปรษณีย์ จะต้องปฏิบัติอย่างไร9. คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
333 ถ.ศรีนครินทร์ แขวง หนองบอน เขต ประเวศ กทม.
โทรศัพท์ : 02-3660505