หัวข้อสัมมนา
1. สิ่งที่นักบัญชีต้องทราบในการบริหารจัดการระบบบัญชีและเอกสารทางภาษีอากรให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และภาษีอากร ในยุคปัจจุบัน 2. เพิ่มทักษะ วิธีวิเคราะห์ปัญหาภาษีอากรและเทคนิคในการวางแผนภาษีให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด 3. การจัดระบบเอกสารให้ถูกต้องทั้งระบบบัญชีและสรรพากรยอมรับ พร้อม UPDATE หลักเกณฑ์ใหม่ของเอกสารรายจ่าย 4. เทคนิคการปรับปรุงและแก้ไขเอกสารรายจ่ายให้ถือเป็นรายจ่ายได้ ตามที่สรรพากรยอมรับ 5. เจาะลึกรายการในงบการเงิน สัญญาณบ่งชี้ที่มักถูกเรียกตรวจสอบ มุมมองที่นักบัญชีบัญชีต้องระวังเป็นพิเศษในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ 6. งบแสดงฐานะการเงินจะสะท้อนความผิดพลาดในการเสียภาษีอย่างไร สัญญาณบ่งชี้ที่จะถูกเรียกตรวจสอบรายการสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของอะไรบ้างที่ควรจัดการก่อนเกิดปัญหา 7. งบกำไรขาดทุนของกิจการรายการรายได้และค่าใช้จ่ายที่มักถูกสรรรพากรประเมินมีหลักเกณฑ์การวิเคราะห์แก้ไข อย่างไรให้ถูกต้อง 8. สรรพากรอ่านและวิเคราะห์อย่างไรว่า งบการเงินของกิจการผิดปกติและวิธีการตอบข้อโต้แย้งให้ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร 9. เจาะประเด็นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่นักบัญชีต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหลักเกณฑ์และเงื่อนไขพร้อมประเด็นความผิดพลาดที่ต้องปรับปรุงกำไรสุทธิ(บวกกลับ) 10. ปัญหาการรับรู้รายได้และการเลือกวิธีการรับรู้รายได้ให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุดในทางภาษีอากรที่มีผลกระทบต่อภาษีมูลค่าเพิ่ม 11. รายได้จากการขาย การให้บริการ และรายได้อื่นประเด็นที่กิจการเสียภาษีไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง 12. รายได้ที่ยกเว้นภาษีเงินได้มีจริงหรือไม่และจะตรวจสอบอย่างไรให้ถูกต้องครบถ้วน 13. รายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการมีภาระภาษีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มีประเด็นอะไรบ้างที่มักเสียไม่ครบถ้วน หรือไม่ได้เสียภาษี 14. หากกิจการมีรายได้ หรือไม่ได้บันทึกบัญชีรายได้ และเสียภาษีไม่ครบถ้วนมีประเด็นใดบ้างที่จะถูกประเมินและภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง 15. อะไรคือประโยชน์ที่คำนวณได้เป็นเงิน หากกิจการได้รับประโยชน์ที่คำนวณได้เป็นเงินจะเสียภาษีหรือไม่อย่างไร เช่น รางวัลจากกการขายตามเป้า จัดอบรมสัมมนาให้กับลูกค้า การให้สวัสดิการพนักงาน 16. รายได้อื่นกับภาระภาษีที่มักเสียไม่ครบถ้วนมีอะไรบ้างประเด็นความผิดพลาด ปัญหาในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม 17. รายได้ที่สรรพากรสั่งให้เสียเพิ่ม หรือถูกประเมินเพิ่มเติม จะต้องปฏิบัติอย่างไรทั้งการบันทึกบัญชีและการเสียภาษีอากร 18. การขายสินค้าหรือให้บริการที่ตํ่ากว่าราคาตลาดสรรพากรมีวิธีการคำนวณหาราคาตลาดอย่างไรและขายหรือให้บริการตํ่ากว่า ราคาตลาดอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ 19. ความแตกต่างของรายจ่าย (Expenditure)กับค่าใช้จ่าย (Expenses) ที่ผู้จัดการบัญชีต้องระมัดระวัง 20. มีวิธีพิจารณาอย่างไรว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สำคัญ 21. ผู้จัดการบัญชีควรจะกำหนดหลักเกณฑ์อย่างไรว่า รายจ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นสินทรัพย์ต้องหักค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายอะไรที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ 22. ค่าใช้จ่ายในการขาย จุดอ่อนที่มักถูกประเมินมีอะไรบ้าง ประเด็นที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 23. ค่าใช้จ่ายในการบริหารเช่น เงินเดือนผู้บริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหาร สูงเกินสมควรมีประเด็นการวิเคราะห์อย่างไร 24. รายจ่ายส่วนตัวให้โดยเสน่หา แยกพิจารณาอย่างไร และวิธีการจัดการให้ถือเป็นรายจ่ายได้ 25. บริจาคอย่างไรให้ถูกต้องและได้รับประโยชน์สูงสุด และถือเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า 26. ค่ารับรองหรือค่า Entertain จะกำหนดอย่างไรไม้ให้ถูกเจ้าพนักงานประเมินโต้แย้ง พร้อมประเด็นความผิดพลาดที่ต้องระมัดระวัง มีเอกสารประกอบอะไรบ้าง 27. ภาษีซื้อและภาษีซื้อต้องห้าม เทคนิคการจัดการให้ถูกต้อง และวิธีพิจารณาที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทราบ 28. กิจการจะหักค่าเสื่อมราคาและการเลือกหักค่าเสื่อมราคาอย่างไร ให้เสียภาษีประหยัดและถูกต้อง
29. รายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรที่นักบัญชีจะต้องเตรียมรับมือพร้อมวิธีการแก้ไขปัญหา 30. การเลือกใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของรายจ่ายที่กฎหมายให้สิทธิถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นจากที่จ่ายจริงที่นักบัญชีต้องระมัดระวังหากผิดพลาดมักถูกประเมิน 31. ประเด็นความผิดพลาดในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่นักบัญชีไม่ควรมองข้าม 32. ประเด็นความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่กิจการมักเข้าใจคลาดเคลื่อนเสียไม่ครบถ้วน 33. มีประเด็นอะไรบ้างในกรณีการใช้สิทธิขอภาษีซื้อคืนแต่ไม่ต้องนำส่งภาษีขายที่นักบัญชีต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง 34. UPDATE หลักเกณฑ์ใหม่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นักบัญชีต้องทราบ 35. ปัญหาการออกและแก้ไขใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้และใบลูกหนี้ความผิดพลาดที่ไม่ควรมองข้าม 36. การเลือกวิธีการส่งเสริมการขายที่ไม่ต้องเสียภาษีขายและขอภาษีซื้อคืนได้ หลักเกณฑ์วิธีการส่งเสริมการขายที่ถูกต้องที่ให้กิจการสามารถขอภาษีซื้อคืนได้และถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ 37. ทำอย่างไรจะให้ขอภาษีซื้อคืนได้ และถูกต้องตามประมวลรัษฎากร 38. การวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางเลือกที่นักบัญชีต้องนำมาใช้มีวิธีอย่างไร 39. ปัญหาของค่าใช้จ่ายบางประเภทที่มักมีข้อโต้แย่งว่าเสียภาษีไม่ถูกต้องมีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ - การขายสินค้าพร้อมขนส่ง - ขายสินค้าพร้อมบริการ - เช่ากับขนส่ง - เช่ารถพร้อมคนขับ - บริการกับค่าเช่า - ค่ารับรองกับส่งเสริมการขาย - ขายกับรับจ้างทำของ - สวัสดิการกับรายจ่ายส่วนตัว 40. ประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ฝ่ายบัญชีต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ - กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย แยกพิจารณาอย่างไร - กฎเหล็ก 4 ข้อ ที่ต้องระมัดระวังในการหักภาษี ณ ที่จ่าย - อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะหักอย่างไรไม่ให้ผิดพลาด - ใครต้องรับผิดเมื่อหัดภาษี ณ ที่จ่ายไม่ครบถ้วน 41. ประเด็นความผิดที่มักเกิดขึ้นบ่อยในการหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องวางระบบอย่างไร - ค่านายหน้า - ค่าดอกเบี้ย - ค่าเช่าสินทรัพย์ - วิชาชีพอิสระ - รับจ้างทำของ และบริการ - การส่งเสริมการขาย - ค่าขนส่ง - ค่าsoftware 42. มุมมองที่นักบัญชีต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการเข้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่สรรพากร 43. เทคนิคการตอบข้อโต้แย้งให้สรรพากรยอมรับ จะต้องใช้ข้อมูลหรือเครื่องมือใด 44. มีรายงานอะไรบ้างที่นักบัญชีจะต้องทำเพื่อเตรียมรับมือการถูกเรียกตรวจสอบ 45. ปัญหาความแตกต่างของการกระทบยอดรายได้ ภ.ง.ด.50 กับ ภ.พ.30 ที่จะต้องระมัดระวัง 46. ประเด็นการบวกกลับ ไม่บวกกลับทางเลือกที่ฝ่ายบัญชีต้องตัดสินใจ และมีรายการอะไรบ้างที่ต้องบวกกลับและหักออก 47. เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและวิธีการแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชีที่นักบัญชีต้องรู้ 48. ภาษีที่มีสิทธิขอคืนได้แต่ไม่ได้ขอคืนทางบัญชีจะต้องบันทึกบัญชีอย่างไรและจะตัดออกจากบัญชีได้หรือไม่ 49. เอกสารทางบัญชีที่สรรพากรจะใช้มาประเมินภาษีได้ 50. สิ่งที่นักบัญชีต้องจัดทำให้พนักงานภายในทราบเพื่อไม่ให้บริษัทต้องเสียภาษีเพิ่ม 51. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
|