จุดสำคัญของ PDPA ที่ HR ต้องไม่พลาด และไม่ต้องรับผิดทางกฎหมาย Pain Point HR in PDPA

รหัสหลักสูตร : 21/03110P

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


จุดสำคัญของ PDPA ที่ HR ต้องไม่พลาด

และไม่ต้องรับผิดทางกฎหมาย

Pain Point HR in PDPA

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 

บรรยายโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

หัวข้อสัมมนา

1. เอกสารต่อไปนี้ HR ต้องกำหนดวัตถุประสงค์อย่างไร? ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และต้องขอความยินยอม หรือไม่ ต้องใช้ฐานกฎหมาย(Lawful Basis) อะไร? ตาม PDPA ถึงจะทำให้ HR พ้นจากความรับผิด

- Resume, Portfolio, CV

- ใบสมัครงาน

- ผลการประเมินช่วงทดลองงานและระหว่างปฏิบัติงาน

- สลิปเงินเดือน

- ข้อมูลของผู้สมัครเกี่ยวกับพฤติกรรม ประวัติทางวินัย

- หนังสือเลิกจ้าง

- สัญญาจ้าง 

- ฯลฯ

2. วิธีการแจ้ง HR Privacy Policy ให้พนักงานทราบ กรณีต่อไปนี้
    มีความเสี่ยงและข้อควรระวังอย่างไรบ้าง และควรจะใช้วิธีการใด?
    เพื่อใช้ในการปฏิบัติที่ดีและเหมาะสมที่สุด
   - ส่งอีเมล E-mail หาพนักงาน
   - ปิดประกาศ HR Privacy Policy ในบริษัท
   - ผนวกรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งในสัญญาจ้างงาน

3. การขอความยินยอมตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA
   - กรณีที่ขัดกับกฎหมายแรงงาน จะยึดการปฏิบัติตามกฎหมายใด?   
   - การจัดเก็บหรือใช้ข้อมูลของผู้สมัครงานตาม PDPA มีกระบวนการใดบ้าง
     ต้องขอความยินยอม และกระบวนการใด ไม่ต้องขอความยินยอม

4. สิทธิของพนักงานในองค์กร ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีขอบเขตการใช้สิทธิ
    อย่างไร? และมีมาตรการเชิงป้องกันอย่างไรมิให้ทำ ผิดกฎหมายซึ่งมีโทษปรับทางแพ่ง
    ทางปกครองและอาญา
   - การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล
   - การขอทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล

5. Pain Point การเก็บ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน HR ของพนักงาน HR
    จะต้องบริหารจัดการอย่างไร?
   - ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน เพื่อใช้ในการยื่นภาษีและประกันสังคม มีข้อควรระวังอย่างไร
   - ชื่อ และบัญชีธนาคาร เพื่อใช้ในการจ่ายเงินเดือน เมื่อต้องโอนข้อมูลค่าจ้าง ค่าตอบแทน
     ให้ธนาคารและหน่วยงานรับทำ Payroll
   - การจัดเก็บ ลายนิ้วมือ รูปใบหน้า เพื่อสแกนเวลาเข้าทำงาน จะมีระบบจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
     ให้ปลอดภัยตามมาตรฐานได้อย่างไร คำนึ่งถึงอะไรบ้าง
   - ข้อมูลสุขภาพ การตรวจสุขภาพพนักงานและใบรับรองแพทย์ มีอะไรบ้าง?
     ที่กระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอ่อนไหว
   - ประวัติอาชญากรและประวัติทางการกระทำความผิด มีความเสี่ยงต่อการนำมาประมวลผล
     อย่างไรบ้าง
   - ประวัติครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้อง HR สามารถขอ เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยได้แต่ไหน
     กำหนดขอบเขตอย่างไร

6. การประเมินผลทดลองงานและประเมินผลงานตามแต่ละวัตถุประสงค์ ที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
    จะมีวิธีแจ้งผลการประเมินอย่างไรตามแนว คำพิพากษาศาลแรงงานจึงจะชอบด้วยกฎหมายอย่าง
    แท้จริง

7. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติเพื่อในการทำงาน เพื่อประเมินศักยภาพ และความเหมาะสม
    ในการจ้างงานมีแนวปฏิบัติอย่างไร

8. ฝ่าย HR ต้องดำเนินการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับมาอย่างไร? และจัดทำ RoPa 
    (Record of Processing Activity) ทางฝ่าย HR ต้องดำเนินการอย่างไร?
    - แยกประเภท และระบุได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลในแต่ละประเภท
    - Lawful Basis for processing ฐานทางกฎหมายสำหรับประมวลผล
    - สถานที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
    - ใครดูแล หรือมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

9. การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ใช่ข้อมูล ของพนักงานภายใน
    ที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหล ของข้อมูลส่วนบุคคล และเข้าข่ายผิดกฎหมาย PDPA
   - การแจ้งผู้สมัครงาน (เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ใช่ลูกจ้าง) เกี่ยวกับการเก็บ
     รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงาน
   - การเก็บใบสมัครของผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกไว้โดยไม่ยอมทำลายเอกสารนั้น
     ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเลินเล่อ และนำไปรีไซเคิล
   - การลบข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานลูกจ้าง เมื่อพ้นสภาพการจ้าง
   - ระยะเวลาที่เหมาะสมในการลบข้อมูลส่วนบุคคล

10.ข้อควรระวัง กรณีนำข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานหรือลูกจ้าง ไปให้บุคคลอื่น
     หรือบุคคลที่สามเพื่อนำไปประมวลผล
   - การโอนข้อมูลพนักงานให้กับบุคคลอื่น การควบรวมกิจการ
   - การใช้ข้อมูลพนักงานลูกจ้างร่วมกันกับบริษัทในเครือซึ่งอยู่
     หรือมีสำนักงานในต่างประเทศมีข้อจำกัดอย่างไร

11. ในการจัดให้มีข้อตกลงระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
      ในงาน HR ที่เรียกว่า DPA (Data Processing Agreement) คืออะไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร

12. HR ต้องมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
     (Data Protection Officer : DPO) ของบริษัทนายจ้างอย่างไร

13. กระบวนการฝึกอบรมดูงานทั้งในและต่างประเทศมีข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นความเสี่ยง
     ทั้งข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปและข้อมูลส่วนบุคคล ประเภทอ่อนไหวมีข้อควรพิจารณา
     คำนึงถึงอย่างไร

14. การใช้ข้อมูลของแรงงานต่างด้าวในกิจการของนายจ้าง มีข้อพิจารณาอย่างไรบ้าง

15. ข้อมูลเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สมาชิกของสหภาพแรงงาน กับการนำและล่วงรู้ข้อมูล
      ส่วนบุคคลของลูกจ้างที่เป็นสมาชิก สหภาพแรงงานมาดำเนินการ มีข้อควรระมัดระวัง
      มีความเสี่ยงและอันตรายอย่างไร?

16. กิจกรรมในการสอบสวน การใช้มาตรการทางวินัยการลงโทษการ เลิกจ้างมีข้อมูลส่วนบุคคล
      เกี่ยวข้อง จะต้องระมัดระวังเรื่องใดบ้าง?

17. การแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้าง HR ควรทำอย่างไร
     - เหตุละเมิดที่เป็นความเสี่ยงสูงที่ต้องแจ้งภายใน 72 ชั่วโมง มาตรการเยียวยาลูกจ้าง
       จะต้องทำอย่างไร

18. HR กับการต้องรับโทษทางอาญา โทษทางแพ่งอันเกิดจาก การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
     ของลูกจ้าง โทษทางแพ่งและโทษปรับ ทางปกครองมีอะไรบ้าง อย่างไร

19. ถาม-ตอบประเด็นปัญหา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น



 
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

สถานที่

โรงแรมโนโวเทล บางนา
333 ถ.ศรีนครินทร์ แขวง หนองบอน เขต ประเวศ กทม.
โทรศัพท์ :
02-3660505
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า MRT สถานีศรีอุดม ทางออกที่ 2 (ห่างจากสถานี 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba