วิธีการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากรด้วยระบบ Risk Based Audit System (RBA)

รหัสหลักสูตร : 21/17032

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร



วิธีการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากรด้วยระบบ
Risk Based Audit System (RBA)

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.

- ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ!!! กับการตรวจสอบของสรรพากร
- รู้ก่อน ป้องกันก่อน กับการตรวจสอบรูปแบบใหม่ของสรรพากร ตรวจใคร? ตรวจอย่างไร?
- ด่วนที่สุด!! วิธีการสุ่มตรวจแบบใหม่ของกรมสรรพากรด้วยระบบ Risk Based Audit System: RBA
- เตรียมรับมือกับการปฏิบัติการจริงของสรรพากรจากเกณฑ์ความเสี่ยง 132 เกณฑ์ ในระบบที่ผู้ประกอบการต้องรู้ทัน
- ระวัง!! กิจการของท่านจะอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงด้วย
- สรรพากรพร้อม ระบบตรวจสอบพร้อม แล้วคุณพร้อมหรือยัง??

วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

หัวข้อสัมมนา

1. รู้จัก ระบบ Risk Based Audit System : RBA เพื่อค้นหาเกณฑ์ความเสี่ยง ที่ใช้ในการสุ่มตรวจของสรรพากร

2. เข้าใจ “การติดเกณฑ์ความเสี่ยง” เป็นอย่างไร ตรวจแบบไหน ตรวจใครและมีหลักเกณฑ์การตรวจและจัดเก็บแบบใดมีความสำคัญแค่ไหนกับกิจการ

3. HOT Issue วิธีวิเคราะห์ RBA จากระบบคอมพิวเตอร์ด้วย 132 เกณฑ์ มีหลักเกณฑ์อย่างไร ความผิดพลาดกรณีใดที่ทำให้เกณฑ์คะแนนความเสี่ยงสูงจนเสี่ยงกับการถูกตรวจสอบ

4. การนำข้อมูลต่างๆมาใช้กับระบบ Risk Based Audit System : RBA มีอย่างไรบ้าง

   - ข้อมูลภายใน จากการตรวจแนะนำ ตรวจปฏิบัติการการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี การวิเคราะห์งบการเงิน
   - ข้อมูลภายนอก เช่น กรมศุลกากร ธนาคารแห่งประเทศไทย การไฟฟ้า การประปา ค่าGDP

5. ประเด็นความเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังที่สุด จากการตรวจสอบแบบใหม่ของสรรพากร

ประเด็นความเสี่ยงกรณีนิติบุคคล

     * รายการเงินสดที่อยู่ในความครอบครองของกรรมการ จะถือว่าเป็นการให้กรรมการกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือไม่

     * การใช้เงินสดในการชำระรายการค้าทุกรายการ

     * กิจการที่มีหลักฐานเบิกเงินสดย่อยเพียงใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสด

     * กิจการมีลูกหนี้การค้าสูงมากผิดปกติ

     * กิจการมีสินค้าคงเหลือสูงหรือต่ำกว่าข้อเท็จจริงรายงานสินค้าคงเหลือไม่ตรงกับสินค้าที่เหลืออยู่จริง

     * ทุนจดทะเบียนกรณีกิจการได้รับชำระค่าหุ้นไม่ครบ

     * ประเด็นรายได้จากกการประกอบกิจการ เช่นค่าโฆษณา, การส่งเสริมการขาย, รายได้ในงบการเงินไม่สัมพันธ์กับต้นทุนและค่าใช้จ่าย

     * การบันทึกต้นทุนขาย และบริการ สูงต่ำกว่าความเป็นจริง

     * รายการค่าใช้จ่ายในการขาย เช่นค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าที่ปรึกษา ค่าใช้จ่ายพนักงานสูงผิดปกติ

     * การทำรายจ่ายเท็จโดยนำบัตรประชาชนของผู้อื่นมารับเงิน

     * ค่าใช้จ่ายในการบริหาร มีการบันทึกค่าใช้จ่ายสูงหรือบันทึกผิดรอบระยะเวลาบัญชี

ประเด็นความเสี่ยงกรณีบุคคลธรรมดา

    * การตรวจสอบภาษีจากเส้นทางการเงินของบุคคลธรรมดา

    * กิจการมีจำนวนคนงานเพิ่มขึ้น ขยายกิจการ แต่รายได้คงที่หรือลดลง

    * ค่าลดหย่อนที่แสดงไม่สัมพันธ์กับเงินได้

    * หักค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้องตามประเภทเงินได้

    * หลักฐานแสดงค่าใช้จ่าย

    * มีข้อมูลภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย แต่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการหรือแสดงเงินได้ไม่ครบถ้วน

    * การหักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมาอาจถูกมองว่าแสดงเงินได้ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

    * มีเงินได้เกิน 1.8 ล้านแต่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

    * คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่มีการแบ่งส่วนกำไรหรือมีการแบ่งเงินส่วนแบ่งกำไรแต่ไม่ได้นำไปเป็นเงินได้ของผู้เป็นหุ้นส่วน

6. ทำอย่างไรไม่ให้งบการเงินติดเกณฑ์ความเสี่ยง เพื่อป้องกันการถูกตรวจสอบจากสรรพากรตาม หลักเกณฑ์ใหม่

   - ประเด็นใดที่เห็นในงบการเงินแล้วสรรพากรต้องตรวจทุกราย

7. เมื่อเป็นกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์แล้วสรรพากรเข้าตรวจหรือเรียกตรวจ จะตรวจอะไรบ้างสิ่งที่ผู้ประกอบการและนักบัญชีต้องเตรียมรับมือ

   - ผลกระทบขั้นรุนแรง จากการเข้าไปอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจากการสุ่มตรวจด้วยระบบ Risk Based Audit System : RBA

8. การยื่นแบบทางInternet มีผลอย่างไรต่อการตรวจรูปแบบใหม่ระบบ Risk Based Audit System : RBAทำไมสรรพากรต้องให้ยื่นทาง Internet

9. การตรวจสอบด้วยระบบใหม่ของสรรพากร จะส่งผลกระทบต่อผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชีอย่างไรหรือไม่

10. การตรวจสอบด้วยระบบ Risk Based Audit System : RBA ประเด็นใดเจรจาต่อรองได้

11. ประเด็นแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจริงจากการสุ่มตรวจระบบใหม่ของสรรพากร ที่พลาดไม่ได้!!!

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
204 รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ :
02-694-2222
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 2


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba