เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี Easy e-Receipt 2.0

โดย

 


 
เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี Easy e-Receipt 2.0


    รายละเอียดเงื่อนไขการใช้สิทธิ์มีดังนี้
    ● เป็นสิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับ “บุคคลธรรมดา” ที่ไม่ใช่ “ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล” ที่ได้ซื้อสินค้าหรือบริการตามที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท
    ● โดยกำหนดสินค้าและบริการที่ซื้อแล้วใช้สิทธิ์ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้
        ○ กลุ่มแรก ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
        ○ กลุ่มสอง หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ในกรณีที่ซื้อสินค้าหรือบริการดังต่อไปนี้
            ■ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
            ■ สินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
            ■ สินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
    สิ่งที่น่าสนใจ คือการซื้อสินค้าหรือบริการตามสิทธิ์ส่วนแรก 30,000 บาทนั้น รวมถึงค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการส่วนหลัง (20,000 บาทด้วย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ซื้อสินค้าหรือบริการในกลุ่มสองได้สูงสุดถึง 50,000 บาท นั่นเองครับ
    สินค้าและบริการกลุ่มที่ห้ามซื้อหรือซื้อแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้
    มีรายละเอียดดังนี้
        ● ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
        ● ค่าซื้อยาสูบ
        ● ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
        ● ค่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และค่าซื้อเรือ
        ● ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
        ● ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลา ระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
        ● ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
        ● ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
        ● ค่าที่พักในโรงแรม
        ● ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
        ● ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
    นอกจากนั้นยังหมายถึง สินค้าและบริการที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) ก็ไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้เช่นเดียวกัน ยกเว้นแต่หนังสือและอีบุ๊ก (รวมหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำราเรียน) และ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) สินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจชุมชน และ สินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนถูกต้องตามที่กำหนดไว้ ถึงจะสามารถใช้สิทธิ์ได้ตามที่ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้

จากบทความ : สรุปประเด็น Easy e-Receipt และสิ่งที่นักบัญชีควรรู้ โดย : TAX Bugnoms/
Section : Tax Talk / Column : Tax Knowledge อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...
วารสาร CPD & Account ปีที่ 21 ฉบับที่ 254 เดือนกุมภาพันธ์ 2568

 
 


FaLang translation system by Faboba