หลักเกณฑ์ของค่ารับรอง
โดย
 |
เมื่อมีการรับรองเกิดขึ้น มักจะเกิดปัญหาว่าหากมีรายจ่ายเพื่อการเลี้ยงรับรองหรือค่าบริการเกิดขึ้นนั้น รายจ่ายอย่างไรจึงจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้กำหนดให้เป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ดังนี้ มาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร “ค่ารับรองหรือค่าบริการส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง” ตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น กำหนดไว้ว่าค่ารับรองหรือค่าบริการเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร ห้ามนำไปคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งทางบัญชีจะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ หากรายจ่ายนั้นมีหลักฐานการจ่ายเงินครบถ้วนถูกต้อง แต่เมื่อคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องนำค่ารับรองหรือค่าบริการดังกล่าวไปปรับปรุงกำไรสุทธิ (บวกกลับ) ในแบบ ภ.ง.ด.50 แต่อย่างไรก็ดี ประมวลรัษฎากรได้กำหนดข้อยกเว้นยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้าม หากค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 ดังนั้นค่ารับรองหรือค่าบริการที่เกิดจากการดำเนินกิจการจะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 ได้กำหนดให้ค่ารับรองจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ต้องเข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. ค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีธุรกิจทั่วไป กิจการโดยทั่วไปมักจะมีธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติเมื่อมีบุคคลภายนอก เช่น ลูกค้าได้เข้ามาติดต่อกับกิจการจะมีการเลี้ยงรับรองเพื่อประโยชน์ที่กิจการอาจจะได้รับผลตอบแทนทางธุรกิจได้ในอนาคต หรือเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกิจการเป็นการทั่วไป 2. บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของกิจการ ยกเว้นมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือบริการนั้นด้วย การรับรองหรือบริการนั้นจะต้องเป็นการรับรองหรือบริการบุคคลภายนอกที่มิใช่ลูกจ้าง พนักงาน กรรมการ หรือผู้จัดการ ยกเว้นจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือบริการนั้นด้วย
ข้อสังเกต หากกิจการไปเลี้ยงรับรองเฉพาะพนักงานโดยไม่มีบุคคลภายนอกไปร่วมรับรองด้วย ไม่ถือเป็นรายจ่ายค่ารับรองตามประมวลรัษฎากร
|
3. ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการ ที่จะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการที่อาจจะมีผลตอบแทนเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อกิจการ ส่วนอีก 6 ข้อที่เหลือ ติดตามได้ในเล่ม
จากบทความ : ค่ารับรองหลักเกณฑ์ที่ถือเป็นค่าใช้จ่าย โดย : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร/ Section : Tax Talk / Column : Tax & Accounting อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 21 ฉบับที่ 253 เดือนมกราคม 2568
|
|
|
|
|
|

|