ขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร ด้วยการบริหารค่าตอบแทนแบบ “การทางพิเศษฯ”
โดย
|
|
ขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร ด้วยการบริหารค่าตอบแทนแบบ “การทางพิเศษฯ”
|
ปี 2566 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) หรือ Expressway Authority of Thailand (EXAT) ผู้ให้บริการทางพิเศษ หรือ “ทางด่วน” มีรายได้มากกว่าสองหมื่นสามพันล้านบาท นั่นคือปัจจัยให้พนักงานของ กทพ. ได้รับโบนัสในปี 2566 ถึงประมาณ 5 เท่าของเงินเดือน คุณสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เล่าว่า กทพ. มีแผนจะลงทุนครั้งใหม่ในหลายๆ โครงการ ซึ่งนอกจากจะช่วยในด้านการเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรแล้ว ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศก้าวหน้าและเติบโตขึ้น แต่ด้วยการบริหารองค์กรรัฐวิสาหกิจมีความแตกต่างจากบริษัทเอกชนอย่างชัดเจน ด้วยสถานะขององค์กรที่สร้างเงื่อนไขและกติกาเฉพาะตัว แม้จะยากเพราะมีแรงเสียดทานจากหลายฝ่าย แต่คุณสุรเชษฐ์ก็สามารถนำพาองค์กรไปสู่ทิศทางใหม่ๆ ได้สำเร็จ และล่าสุด ครม. อนุมัติต่ออายุให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อีกสมัย ในฐานะผู้บริหารที่ต้องดูแลคนมากมาย คุณสุรเชษฐ์วางเป้าหมายในการขับเคลื่อนคนและองค์กรของ กทพ. ไว้อย่างไรบ้าง ผลงานโดดเด่นที่ทำให้คุณสุรเชษฐ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย สมัยที่ 2 คิดว่าเป็นเรื่องใด “ผมเป็นนักขับเคลื่อน ถ้านายวางเป้าไว้ ผมทำได้เกือบหมด ยกตัวอย่างเรื่องการที่ กทพ. ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประเภทรางวัล “การพัฒนาองค์กรดีเด่น” ซึ่งก่อนหน้านี้ กทพ. ไม่เคยได้รับรางวัลมากว่า 17 ปีแล้ว หรือจะเป็นทางด่วนเกษตร-นวมินทร์ ที่ค้างอยู่ 20 ปี ยังไม่สำเร็จ ผมก็เข้าไปแก้ มติ คจร. (คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก) ก็อนุญาตให้ก่อสร้างได้บางส่วนไปก่อน อีกที่ก็ทางด่วนภูเก็ต “กะทู้-ป่าตอง” ซึ่งเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2556 ผมก็เข้าไปคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนตอนนี้ผ่าน ครม. ไปแล้วในปี 2564 เหล่านี้ก็เป็นโครงการที่ทำสำเร็จในยุคของผม หลายคนอาจจะเพ่งเล็งว่า ผู้ว่าการฯ กทพ. ชอบสร้างโครงการ หวังคอร์รัปชันหรือไม่ ซึ่ง กทพ. ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า องค์กรได้รับผลการประเมิน ITA (Integrity and Transparency Assessment ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ) ปี 2566 สูงถึง 94.11 คะแนน เป็นคะแนนสูงสุดในรอบ 10 ปี และการให้คะแนนก็มิได้ประเมินตนเอง แต่เป็นคะแนนที่มาจากการสัมภาษณ์ Stakeholder ของ กทพ. เคล็ดลับการบริหารงานของผม คือ Win-Win และยุติธรรม คือคนจะเป็นผู้บริหาร หรือ CEO ที่ประสบความสำเร็จ อย่างแรกคุณต้องมีความรู้ในงาน ต้องเข้าใจในงาน ถึงจะกำหนดทิศทางของงานได้ อย่างที่สอง คือ ต้องจับประเด็นให้ไว และอย่างที่สาม คือ ต้องฟังคนเยอะๆ อีกอย่างก็ต้องพยายามจัดพื้นที่ให้คนมีส่วนร่วม หลายครั้งที่การตัดสินใจไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการ แต่เป็นการผสมผสาน ตรงจุดนี้เราก็ต้องใจกว้างและยืดหยุ่น ทุกแนวคิดที่เราเสนอไป Stakeholder ก็ต้องแฮปปีด้วย”
บางส่วนจากบทความ : ขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร ด้วยการบริหารค่าตอบแทนแบบ “การทางพิเศษฯ” โดย : กองบรรณาธิการ / Section : - / Column : Cover Story อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร HR Society ปีที่ 22 ฉบับที่ 263 เดือนพฤศจิกายน 2567
|
|
|
|
|
|
|