การออกใบกำกับภาษี

โดย

 


 
การออกใบกำกับภาษี


     การออกใบกำกับภาษีเป็นหน้าที่หนึ่งของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องจัดทำใบกำกับภาษีทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ มิเช่นนั้นจะมีความผิด ปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มควรจะได้ศึกษาทำความเข้าใจในการจัดทำใบกำกับภาษีเพื่อที่จะปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีทั้งแบบเต็มรูปและอย่างย่อ ได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีกมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ แต่ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้
     การออกใบกำกับภาษีต้องออกให้ถูกต้องตามกฎหมายประมวลรัษฎากรและสอดคล้องกับลักษณะของการประกอบกิจการ เนื่องด้วยใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง ทั้งนี้เมื่อเกิดจุดความรับผิดในการเสียมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้า/ผู้รับบริการในทันที
          กรณีการขายสินค้า
          มีจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้

          กรณีการให้บริการ
          ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระค่าบริการหรือเมื่อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนได้รับชำระค่าบริการแล้วแต่กรณี ดังนี้


จากบทความ : Case Studies การออก-การใช้ ใบกำกับภาษี โดย : ภักดี ลิ่มบุตร/
Section : Accounting Style / Column : CPD Talk อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...
วารสาร CPD & Account ปีที่ 21 ฉบับที่ 250 เดือนตุลาคม 2567

 
 


 

FaLang translation system by Faboba