ร่างพระราชบัญญัติฯ สมรสเท่าเทียมกับประมวลรัษฎากร

โดย

 


 
ร่างพระราชบัญญัติฯ สมรสเท่าเทียมกับประมวลรัษฎากร


       คำว่า “สามีภริยา” หรือ “สามีหรือภริยา” ปรากฏในบทบัญญัติต่าง ๆ ตามประมวลรัษฎากรหลายบทบัญญัติ โดยเฉพาะในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้นเมื่อร่างพระราชบัญญัติฯ สมรสเท่าเทียมจะมีผลใช้บังคับกับบุคคลทั่วไป
       จึงทำให้กรมสรรพากรต้องศึกษา ทบทวน ประมวลรัษฎากรว่ามีบทบัญญัติใดจะต้องเสนอเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติฯ สมรสเท่าเทียมหรือไม่
       โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าคู่สมรสไม่ว่าเพศใดซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายต้องได้รับสิทธิทางภาษีเท่ากับสามีภริยาที่เป็นชายและหญิง
       หากศึกษาประมวลรัษฎากร พบว่าบทบัญญัติในส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำนวน 6 มาตรา ได้แก่ มาตรา 40 (4) (ข) มาตรา 42 ทวิ มาตรา 42 ตรี มาตรา 47 มาตรา 56 และมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร มีการใช้คำว่า “สามีภรรยา” “สามีและภริยา” และ “สามีหรือภรรยา” ในบริบทแตกต่างกัน โดยเมื่อนำคำว่า “คู่สมรส” หรือ “คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” ตามร่างพระราชบัญญัติฯ สมรสเท่าเทียม ใช้แทนคำว่า “สามีภรรยา” และ “สามีและภริยา” ในประมวลรัษฎากร และพิจารณาความหมายของการใช้คำว่า”คู่สมรส” หรือ “คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” ตามบทบัญญัติดังกล่าว พบว่าไม่ได้ทำให้สิทธิ หน้าที่ สถานะทางกฎหมาย หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสามีภริยา หรือสามีหรือภริยา ตามประมวลรัษฎากรเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด

ตัวอย่างตารางเปรียบเทียบ
ประมวลรัษฎากรและการปรับปรุงคำต่าง ๆ ตามร่างพระราชบัญญัติฯ สมรสเท่าเทียม



       3. การปรับปรุงประมวลรัษฎากรจำเป็นหรือไม่
       มาตรา 67 และมาตรา 68 แห่งร่างพระราชบัญญัติฯ สมรสเท่าเทียม กำหนดดังนี้

       เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวเห็นว่า เมื่อใช้คำว่า”คู่สมรส” หรือ “คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” ตามมาตรา 40 (4) (ข) มาตรา 42 ทวิ มาตรา 42 ตรี มาตรา 47 มาตรา 56 และมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ไม่ทำให้สิทธิ หน้าที่ สถานะทางกฎหมาย หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสามีภริยา หรือสามีหรือภริยา ตามประมวลรัษฎากรเปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างใด กรมสรรพากรจึงควรใช้อำนาจตามมาตรา 67 วรรคแรก และมาตรา 68 วรรคสอง แห่งร่างพระราชบัญญัติฯ สมรสเท่าเทียม ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไม่ปรับปรุงแก้ไขประมวลรัษฎากรดังกล่าวต่อไป


จากบทความ “สมรสเท่าเทียม” กับภาษีอากร Section: Tax Talk / Column: Tax How to
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 44 ฉบับที่ 517 เดือนตุลาคม 2567
หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ
ผ่านระบบ e- Magazine Index

 
 


 

FaLang translation system by Faboba