ปัจจัยสำคัญต้องวิเคราะห์ก่อนลงทุนในธุรกิจ New Economy
โดย
![](/images/content/2024/articleOCT24-01.jpg) |
|
ปัจจัยสำคัญต้องวิเคราะห์ก่อนลงทุนในธุรกิจ New Economy
|
ในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้สังคมเศรษฐกิจทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างก้าวกระโดด นับตั้งแต่ผ่านวิกฤตโรคระบาด Covid-19 ที่ผ่านมา การเกิดขึ้นของนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ESG (Environment, Social, และ Governance การพัฒนาด้วยหลักความยั่งยืนหรือ Sustainability มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม) และพลังงานสะอาด ได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อการเกิดระบบ New Economy หรือเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่ถูกนำขึ้นมามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การใช้ชีวิตประจำวัน และเรื่องของการลงทุนด้วย New Economy ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยมีการนำเสนอสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์หรือวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากยุคดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง กลุ่มธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบของ New Economy จึงนับเป็นธุรกิจที่มีโอกาสในการเติบโตสูง และเป็นธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์อยู่ในกระแสที่พูดถึงอย่างแพร่หลาย เช่น กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นคนใส่ใจในสุขภาพร่างกายของตัวเอง หรือกลุ่มธุรกิจ E-Commerce ร้านขายของออนไลน์ ซึ่งเกิดการเติบโตอย่างมากมาย นับตั้งแต่เกิดการระบาดของ Covid-19 เป็นต้นมา ส่งผลให้ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการมาเป็นการซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์แทนที่การเดินเลือกซื้อของเองทุกอย่างผ่านห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้า การเกิด New Economy จึงเป็นโอกาสใหม่ของผู้ประกอบการที่กำลังมองหาการลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคตต่อไป ในประเทศไทยการเกิดขึ้นของ New Economy ได้ส่งผลต่อการเกิดธุรกิจใหม่ด้านอาหารเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากประเทศไทยของเรามีความพร้อมทางด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สร้างผลผลิตทางการเกษตรได้จำนวนมาก ภาครัฐจึงส่งเสริมด้านนี้โดยเฉพาะ เช่น มีการจัดตั้งสถาบันอุตสาหกรรมเกษตร มุ่งเน้นนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าผสมผสานกับการทำการเกษตรเพื่อสร้าง Smart Farming ที่ตอบโจทย์กับความเป็น New Economy โดยตรง ทำให้อุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทยมีการเติบโตมากขึ้นจนนำไปสู่โอกาสในการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจยุค New Economy 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของไทยที่ภาครัฐให้การสนับสนุนและส่งเสริมในยุค New Economy ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารขั้นสูง (Advanced Agriculture and Food) 2. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuel and Biochemical) 3. อุตสาหกรรมต่อยอดทางการแพทย์และสุขภาพ (Advanced Healthcare Service) 4. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) 5. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) 6. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistic Total Solution) 7. อุตสาหกรรมดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Digital and e-Commerce) 8. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 9. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) 10. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ Biotechnology, Nanotechnology, Digital Technology, Advanced Material Technology
3 ปัจจัยสำคัญต้องวิเคราะห์ก่อนลงทุน สำหรับปัจจัยที่สำคัญต่อการวิเคราะห์เพื่อวางแผนก่อนการลงทุนสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจยุค New Economy ประกอบด้วย 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้ 1. ปัจจัยแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ • ขนาดของตลาด บ่งบอกถึงจำนวนลูกค้าเป้าหมาย • จำนวนความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ • แนวโน้มพฤติกรรมคนยุค New Economy ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการดำเนินธุรกิจ
2. ปัจจัยความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นในธุรกิจ • การขาดแคลนบุคลากรในวัยทำงาน • การเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบของภาครัฐ • สภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ (ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้) • ความผันผวนของราคาต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนผลิต ต้นทุนการให้บริการ
3. ปัจจัยด้านโมเดลธุรกิจและความสามารถทำกำไรของธุรกิจ • การบริหารต้นทุน ความสามารถในการทำกำไรในอัตราที่เหมาะสม • การมีทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าจำนวนมากและหลากหลายกลุ่ม • มีแผนพัฒนาและแผนการขยายธุรกิจที่ชัดเจน
จากบทความ Investment Planning for New Economy วางแผนการลงทุนสร้างโอกาสทางธุรกิจ Section: Cover Story / Column: Cover Story อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 44 ฉบับที่ 517 เดือนตุลาคม 2567 หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index
|
|
|
|
|
|
![](https://www.dst.co.th/images/hilight/Member/banner-03.webp)
|