e-Tax Invoice กับ “ค่าใช้จ่ายที่ลดได้”
โดย
 |
|
e-Tax Invoice กับ “ค่าใช้จ่ายที่ลดได้”
|
สิ่งที่อยากชวนพิจารณา คือ ค่าใช้จ่ายที่กิจการลดได้ในระยะยาว ดังนี้ครับ ● ค่าใช้จ่ายบริหารจัดการ เช่น กระดาษ การบันทึกบัญชี และค่าขนส่ง ฟังดูแล้วอาจจะเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก แต่ถ้ามองในระยะยาวจะส่งผลต่อการลดการใช้งานได้หลายอย่าง รวมถึงส่งผลต่อการบันทึกบัญชีของบริษัทได้ เพียงแต่ตัวเลขในส่วนนี้ค่อนข้างวัดผลยาก ● ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน เช่น พนักงานที่ทำหน้าที่ดังกล่าว (ออกใบกำกับภาษี ตรวจสอบความถูกต้อง หรือ Admin) อาจจะลดจำนวนลงได้ ไปจนถึงการเปลี่ยนให้พนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ไปทำงานที่สร้างประสิทธิภาพมากกว่าในอนาคต ซึ่งตรงนี้จะต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคคลากร เวลาที่ต้องใช้ในการอบรมและเรียนรู้เพื่อใช้งานระบบใหม่ ซึ่งการจะตอบได้ว่าเราสามารถลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริงไหม ควรจะมีข้อมูลประกอบที่ช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในรูปแบบของตัวเลขที่วัดผลได้ รวมถึงการเลือกประเภทการใช้งาน e-Tax Invoice แบบใด ระหว่าง e-Tax Invoice & e-Receipt หรือ e-Tax Invoice by e-Mail (หรือ Timestamp) เพื่อให้เราพิจารณาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจน จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมพบว่าในกรณีของธุรกิจขนาดเล็ก การเลือกใช้ e-Tax Invoice by e-Mail (หรือ Timestamp) ค่อนข้างตอบโจทย์และลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า เพียงแต่ในปัจจุบันยังต้องเสียเวลากับการอธิบายให้คู่ค้าเข้าใจว่า “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องพิมพ์ออกมาในรูปแบบกระดาษ ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นปัญหา หากสุดท้ายลูกค้ายืนยันว่า “ต้องการเอกสารกระดาษตัวจริง” ก็จะทำให้เป็นเรื่องเสียเวลาซ้ำซ้อนประมาณหนึ่งเลยล่ะครับ ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ (รายได้มากกว่า 30 ล้านบาทต่อปี) ที่มีอำนาจต่อรองและสามารถใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้เต็มรูปแบบ คู่ค้ามักจะเข้าใจและยอมรับได้มากกว่า เพียงแต่ก็จะติดเรื่องค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผ่านจากระบบกระดาษมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องคิดและตัดสินใจให้ดีว่าคุ้มค่าหรือเปล่า
จากบทความ : e-Tax Invoice กับรายจ่าย 2 เท่า ที่เจ้าของธุรกิจควรใช้พิจารณา โดย : TAX Bugnoms/ Section : Tax Talk / Column : Tax Knowledge อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 21 ฉบับที่ 249 เดือนกันยายน 2567
|
|
|
|
|
|

|