ESG การปรับตัวของธุรกิจและการบัญชี

โดย

 


 
ความหมายและความสำคัญของ ESG


        ความหมายของ ESG
        ESG (Environmental, Social, and Governance) เป็นกลยุทธ์สำหรับการประเมินความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลขององค์กร ซึ่งแนวคิด ESG ช่วยดึงดูดให้นักลงทุนที่ให้ความสำคัญของธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อนำมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุนในการสร้างผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้
        สิ่งแวดล้อม E : Environmental หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของการดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ รวมถึงการพิจารณาต่าง ๆ เช่น การใช้ทรัพยากร มลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการขยะ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
        สังคม S : Social หมายถึง ผลกระทบทางสังคม ครอบคลุมผลกระทบของธุรกิจที่มีต่อผู้คนและสังคม รวมถึงความสัมพันธ์ธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ พนักงานลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน และตลอดจนในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เกี่ยวข้องกับการประเมินปัจจัยต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติด้านแรงงาน ความปลอดภัยในที่ทำงาน ความสัมพันธ์กับพนักงาน ความหลากหลาย ความเสมอภาคและการไม่แบ่งแยก การมีส่วนร่วมของชุมชน ความพึงพอใจของลูกค้า และสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
        ธรรมาภิบาล G : Governance หมายถึง การกำกับดูแลระบบและโครงสร้างที่เป็นแนวทางในการดําเนินงานของธุรกิจและกระบวนการตัดสินใจ ความโปร่งใสของการดำเนินธุรกิจ การประเมินการทำงานและการบริหารจัดการภายในองค์กร มีกฎระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่เป็นธรรม มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมีการปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุน เช่น องค์ประกอบของคณะกรรมการค่าตอบแทนผู้บริหาร สิทธิของผู้ถือหุ้น ความโปร่งใส นโยบายการต่อต้านการทุจริต เป็นต้น
        ทั้งนี้ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงรัฐบาล ภาคธุรกิจ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และประชาชนทั่วไป การเชื่อมโยงระหว่าง SDGs และ ESG จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันและเกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนในระยะยาว
        ความสำคัญของ ESG ปัจจุบันธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญกับ ESG ไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกิจการ แต่ยังมีผลต่อการสร้างคุณค่าในระยะยาว เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ต้องคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ และ ESG ควรได้รับการส่งเสริมในทุก ๆ ภาคของธุรกิจ ซึ่ง ESG มีความสำคัญ ดังนี้
        ประการแรก การดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ช่วยให้ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ โดยกิจการได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของสิ่งแวดล้อมและการจัดการลดความเสี่ยงทางสังคม ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ผู้ลงทุนและสถาบันการเงินได้คำนึงถึงกิจการที่ปฏิบัติตามหลัก ESG ในการตัดสินใจลงทุนหรือให้เงินกู้
        ประการที่สอง การทำ ESG ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจให้มีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในการดึงดูดลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และมีส่วนสำคัญในการดึงดูดลูกค้าและพนักงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมในยุคปัจจุบัน ลูกค้าในปัจจุบันมักจะเลือกสนับสนุนแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมทางสังคม ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ผ่านการทำ ESG จะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าและสร้างความภักดีในระยะยาว
        ประการสุดท้าย การทำ ESG ยังส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในยุคที่ต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เรื้อรัง การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง ESG จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า หรือชุมชน

จากบทความ ESG การปรับตัวของธุรกิจและการบัญชี Section: Cover Story /
Column: Cover Story อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 43
ฉบับที่ 516 เดือนกันยายน 2567 หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร”
เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index

 
 


 

FaLang translation system by Faboba