เมื่อพูดถึง AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เชื่อว่าส่วนใหญ่คงจะรู้กันแล้วว่า AI คือ เทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดและตัดสินใจได้เหมือนมนุษย์ ลองนึกถึง AI ว่าเป็นเหมือนผู้ช่วยอัจฉริยะที่สามารถทำงานต่าง ๆ ให้เราได้ เช่น ช่วยตอบคำถาม แนะนำสินค้า หรือแม้กระทั่งช่วยขับรถ ตัวอย่างเช่น Siri หรือ Google Assistant ที่เราคุยด้วยในโทรศัพท์ ซึ่งในการใช้งานเราจะพบได้ว่า AI เหล่านี้สามารถเข้าใจและตอบกลับเราได้อย่างชาญฉลาด
จุดแข็งของ AI 1. การทำงานอัตโนมัติ AI สามารถดำเนินการทำงานที่ซ้ำ ๆ มีเงื่อนไข มีวิธีชัดเจน และเป็นระบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความผิดพลาดของมนุษย์และเพิ่มความเร็วในการทำงาน ตัวอย่างเช่น การนำกล้องถ่ายภาพชิ้นงานอัตโนมัติ และให้ AI มาช่วยตรวจหาตำหนิ (Defect) ของสินค้าที่วิ่งอยู่ตามสายพานการผลิต 2. การวิเคราะห์ข้อมูล AI มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งหากมีเกณฑ์หรือวิธีการวิเคราะห์ที่ชัดเจน ก็สามารถตั้งค่าให้ AI ทำการสกัดข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจออกมาได้ 3. การเรียนรู้และปรับปรุงตนเอง ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning ส่งผลให้ AI สามารถเรียนรู้จากข้อมูลที่มีอยู่และปรับปรุงการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถปรับแนวทางการคิดคำตอบได้อัตโนมัติตามข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนไป
จุดอ่อนของ AI 1. ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นสูง การนำ AI เข้ามาใช้ในธุรกิจอาจต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นสูง ทั้งในด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และการฝึกอบรมพนักงาน 2. ความซับซ้อนทางเทคนิค การพัฒนาและใช้งาน AI ต้องการความรู้ทางเทคนิคที่ซับซ้อน และการคิดวิเคราะห์เพื่อประยุกต์เข้ากับงานที่ทำ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจที่ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ 3. ความกังวลด้านจริยธรรม การใช้ AI อาจก่อให้เกิดความกังวลด้านจริยธรรมและความเป็นส่วนตัว เช่น การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล การรั่วไหลของข้อมูล หรือการนำ AI มาทำงานแทนที่มนุษย์
จากบทความ AI Empowerment การประยุกต์ใช้เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ Section: Cover Story / Column: Cover Story อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 43 ฉบับที่ 515 เดือนสิงหาคม 2567 หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index