ความแตกต่างระหว่างสัญญาเช่าพื้นที่กับสัญญาให้บริการใช้พื้นที่
โดย
|
|
ความแตกต่างระหว่างสัญญาเช่าพื้นที่กับสัญญาให้บริการใช้พื้นที่
|
ความแตกต่างระหว่างสัญญา 1. สัญญาเช่าพื้นที่ ตัวอย่าง บริษัทฯ นำพื้นที่ในอาคาร พ. พลาซา ออกให้เช่า โดยบริษัทฯ ทำสัญญาแยกเป็น 2 ฉบับ คือ สัญญาเช่าสถานที่ และสัญญาซื้อขายน้ำประปา กระแสไฟฟ้า และให้บริการ ในส่วนของการให้เช่าพื้นที่ บริษัทฯ ได้แบ่งเป็นห้องให้เช่า มีการกำหนดเลขที่ห้องและเนื้อที่โดยชัดเจน โดยบริษัทฯ ได้ส่งมอบการครอบครองพื้นที่โดยเด็ดขาดให้แก่ผู้เช่า หากมีการทำสัญญาเช่าเกินกว่า 3 ปี บริษัทฯ จะดำเนินการจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ ตามมาตรา 537 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แนววินิจฉัยข้อ 1.1 ของหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรที่ กค 0702/8593 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553)
2.สัญญาให้บริการใช้พื้นที่ ตัวอย่าง บริษัทฯ นำพื้นที่ในชั้น 1 ของศูนย์การค้าออกให้เช่า โดยแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ (Zone) แต่ละส่วน (Zone) ได้มีการจัดแบ่งพื้นที่ย่อยโดยมีผนังกั้นห้องสำเร็จรูป (Partition) กั้นเป็นสัดส่วน ไม่มีประตูเปิด-ปิด และไม่มีการส่งมอบการครอบครองพื้นที่ให้แก่ผู้เช่าโดยเด็ดขาด ผู้เช่าจะต้องประกอบกิจการตามกำหนดวันและเวลาเปิด-ปิดทำการของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลอาคารตลอดจนอำนวยความสะดวกให้กับผู้เช่า กรณีดังกล่าวถือเป็นการให้บุคคลอื่นใช้พื้นที่อสังหาริมทรัพย์ภายในห้างสรรพสินค้าชั่วระยะเวลาอันจำกัด โดยบริษัทฯ ไม่ได้ส่งมอบการครอบครองพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ใช้พื้นที่ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร (แนววินิจฉัยข้อ 1 ของหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรที่ กค 0706/866 ลงวันที่ 24 มกราคม 2546) ไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์
ความแตกต่างในประเด็นภาษี ระหว่างสัญญาเช่าพื้นที่กับสัญญาให้บริการใช้พื้นที่
จากบทความ “5 เทคนิคการทำสัญญาให้ประหยัดภาษีของ SMEs” Section: Tax Talk / Column: Tax Planning อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 43 ฉบับที่ 514 เดือนกรกฎาคม 2567 หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index
|
|
|
|
|
|