สินเชื่อเพื่อการส่งออก Export Financing การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ สินเชื่อก่อนการส่งออก เป็นสินเชื่อสำหรับช่วยให้ผู้ส่งออก (Exporter) กู้เงินเพื่อไปซื้อสินค้าไปขายหรือซื้อวัตถุดิบมาผลิต โดยสินเชื่อ Packing Credit แบบ Pre-Shipment Financing จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ • Packing Credit Against Stock • Packing Credit Against Contract or Purchase Order • Packing Credit Against Letter of Credit
Packing Credit สินเชื่อเพื่อการส่งออก เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผุ้ส่งออกโดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ดังนั้น Packing Credit จึงเป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้าหรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกการให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้ 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่งหรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน หรืออยู่ในระหว่างรอคำสั่ง ซื้อจากผู้ซื้อ ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคารธนาคารจะให้กูได้ไม่เกิน ร้อยละ 60 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น 1.2สินเชื่อที่มีสัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/Cสั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขายหรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน • เอกสารการค้า Sales contract (สัญญาซื้อขาย) คือเอกสารสัญญาตกลงซื้อขายสินค้ากันระหว่างผู้ส่งออก กับผู้ซื้อในต่างประเทศ หรือตัวแทนของผู้ซื้อซึ่งอาจจะอยู่ในประเทศไทย ซึ่งรายละเอียดข้อมูลพิจารณาเช่นเดียวกับ Purchase order เพียงแต่มีการลงนามในสัญญาทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) • คือ การที่ส่งออกมี L/ C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัดถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น
Post-Shipment Financing Post-Shipment Financing คือ สินเชื่อหลังการส่งออก เป็นสินเชื่อเพื่อช่วยให้ผู้ส่งออกมีเงินหมุนเวียนหลังจากส่งสินค้าออกไปแล้วแต่ยังรอการจ่ายเงินแบบ Letter of Credit หรือ Bill for Collection โดยสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Packing Credit) แบบ Post-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท • Purchased or Discounted under Export L/C or B/C • Discounted under Export L/C without Recourse • Packing Credit under Usance Bill
Purchased or Discounted under Export L/C or B/C คือ รูปแบบสินเชื่อเพื่อการส่งออกที่ธนาคารให้สินเชื่อกับผู้ส่งออกเพื่อนำเงินมาหมุนระหว่างรอการจ่ายเงินแบบ L/C หรือ B/C โดยกู้ได้สูงสุด 80% ตามมูลค่าสินค้าใน L/C หรือ B/C โดยระยะเวลากู้สูงสุดตามเวลาของ L/C หรืv B/C (แต่ไม่เกิน 180 วัน) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อแบบ Purchased or Discounted under Export L/C or B/C ได้แก่ • ใบคำขอขาย/ขายลด L/C หรือ B/C (ชื่อไทยของ Purchased or Discounted under Export L/C or B/C) • ต้นฉบับ Letter of Credit หรือ Bill for Collection • เอกสารการส่งออก (Shipping Documents) • แบบการทำรายงานธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ (ในกรณีกู้หรือทำธุรกรรมเป็นเงินต่างประเทศยอดเงินตั้งแต่ $50,000 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า)
Discounted under Export L/C without Recourse คือ ธนาคารซื้อลด L/C’s Terms โดยไม่มีสิทธิ์ไล่เบี้ยผู้ส่งออก (ซื้อต่อราคาถูกกว่าปกติ และถ้าหากผู้ขายไม่ยอมจ่ายก็จะไม่เกี่ยวกับผู้ส่งออกอีกต่อไปแล้ว เพราะถือว่าธนาคารเป็นเจ้าของหนี้ก้อนนั้นไปแล้ว) ทำให้ความเสี่ยงที่ผู้ซื้ออาจไม่จ่ายไปตกอยู่กับธนาคารแทน
Packing Credit under Usance Bill คือ การให้ธนาคารให้สินเชื่อกับผู้ส่งออกที่ต้องรอการจ่ายเงินจากผู้ซื้อที่จ่ายเงินวิธี L/C หรือ B/C ให้กู้ได้สูงสุด 90% ของมูลค่า L/C หรือ B/C ที่เอามาค้ำ
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อแบบ Packing Credit under Usance Bill ได้แก่ • ตั๋วสัญญาใช้เงิน • ต้นฉบับ Letter of Credit หรือ Bill for Collection • เอกสารการส่งออกต่างๆ (Shipping Documents) • แบบการทำรายงานธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ (กรณีกู้หรือทำธุรกรรมเป็นเงินต่างประเทศยอดเงินตั้งแต่ $50,000 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า)