9 ข้อสังเกตุ ... การตรวจใบกำกับภาษี ที่อาจออกโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย พร้อมโทษและความรับผิด ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิออก หรือ ใบกำกับภาษีปลอม
โดย
|
|
9 ข้อสังเกตุ ... การตรวจใบกำกับภาษี ที่อาจออกโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย พร้อมโทษและความรับผิด ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิออก หรือ ใบกำกับภาษีปลอม
|
1. ประเภทสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง เช่น วัสดุก่อสร้าง, ผ้า, พลาสติก, กระดาษ, เคมีภัณฑ์, เพชรพลอย 2. สินค้าที่ซื้อไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ 3. ซื้อจากสถานที่ที่ไม่น่าจะซื้อ 4. ใบกำกับภาษีมูลค่าสูง, ราคาสินค้าหรือบริการไม่น่าเชื่อถือ เขียนด้วยลายมือ, จ่ายชำระค่าสินค้าเป็นเงินสด 5. ซื้อจากผู้ประกอบการรายเดียว ในวันที่ติดๆ กัน หรือใกล้กัน 6. ใบกำกับภาษีซื้อที่มีการนำมาใช้ในช่วงปลายเดือน ปลายปี 7. ใบกำกับภาษีที่ไม่พิมพ์ “เล่มที่” 8. แบบฟอร์มใบกำกับภาษีคล้ายกันหรือลายมือที่เขียนคล้ายกันแต่ชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีต่างกัน 9. วิธีการซื้อสินค้า ไม่ได้ซื้อจาก Supplier โดยตรง แต่ซื้อจากเซลล์หรือพนักงานขายสินค้า
โทษและความรับผิด กรณีออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกกับใบกำกับภาษีปลอม ประเด็นความผิด 1.ออกใบกำกับภาษี (ใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้) โดยไม่มีสิทธิออกตามกฎหมาย
ความรับผิดทางแพ่ง 1. เสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่า ของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ (มาตรา 89(6)) 2. เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย (มาตรา 89/1)นอกจากนั้น จะต้องรับผิดเสียภาษี มูลค่าเพิ่มตามจำนวน ที่แสดงในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ (มาตรา 86/3)
โทษทางอาญา ระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปีของจำนวนภาษีตามใบกำกัภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ และปรับ ตั้งแต่ 2,000 ถึง 200,000 บาท (ใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้) (มาตรา 89(6)) (มาตรา 90/4(3))
ประเด็นความผิด 2.นำใบกำกับภาษีปลอม มาใช้ในการคำนวณภาษี ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ความรับผิดทางแพ่ง 1. เสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี (มาตรา 89(7)) 2. เสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ฐานยื่นภาษีไว้เกิน ตามมาตรา 89(4)และเสียภาษีไว้คลาดเคลื่อนตามมาตรา89(3) 3. เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษี (มาตรา 89/1)
โทษทางอาญา นำใบกำกับภาษีปลอมหรือในกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ใบการเครดิตภาษี โดยเจตนา ระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปีและปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 200,000 บาท (มาตรา 90/4(7))
|
|
|