ประเด็นทางภาษีของ...ค่าขนส่ง VS ค่าบริการ

โดย

 


 
ประเด็นทางภาษีของ...ค่าขนส่ง VS ค่าบริการ

 

ค่าขนส่ง ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม??
   ขนส่งปกติ
   
ธุรกิจขนส่งเป็นปกติ หรือที่ทำเป็นประจำ คือขนส่งจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยไม่มีบริการอื่นๆร่วมด้วย จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่เอาค่าขนส่งมาเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าหรือบริการ
   - ไม่ว่าค่าขนส่งจะแสดงรายการไว้ในใบกำกับภาษี หรือแยกแสดงไว้ในเอกสารสารอื่นต่างหาก และ
   - ไม่ว่าผู้ประกอบการจะทำการขนส่งด้วยยานพาหนะของตนเองหรือว่าจ้างให้บุคคลอื่นขนส่งให้ก็ตาม

   ขนส่งพ่วงบริการ (ขนส่ง + บริการ)
   ธุรกิจขนส่งที่มีบริการพ่วงด้วย เช่น รถห้องเย็น รถโม่ปูนผสมคอนกรีต เพราะรถขนส่งไม่สามารถวิ่งไปเฉยๆ จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้ ต้องมีการเปิดเครื่องโม่ปูนอยู่ตลอด หรือรถห้องเย็นต้องเปิดแอร์ทำความเย็นตลอดการขนส่ง จึงถือเป็นขนส่งที่พ่วงบริการ เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือบริการ จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าขนส่งหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
   การหักภาษี ณ ที่จ่ายของค่าขนส่ง มีหลักเกณฑ์ในการแยก ดังนี้
   กรณีที่ 1 ขนส่งปกติจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยไม่มีการให้บริการอื่นๆเพิ่มเติม ถือเป็น “ค่าขนส่ง” บริษัทขนส่งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้ว่าจ้าง 1% ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป
   - หากบริษัทขนส่งมีการจ้างรถมาวิ่งร่วมด้วยบริษัทไม่มีรถขนส่งของตนเอง บริษัทขนส่งผู้ว่าจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับรถร่วม ไม่ว่าจะเป็นรถร่วมในนามบุคคลธรรมดา หรือรถร่วมนิติบุคคล จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
   - แต่ถ้าเป็นการเช่ารถเพื่อใช้ในกิจการถือเป็นค่าเช่าให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

   กรณีที่ 2 ขนส่งที่พ่วงบริการ โดยขนส่งจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งที่มีบริการระหว่างขนส่ง ถือเป็น “ค่าบริการ” บริษัทขนส่งจะถูกหัก ณ ที่จ่าย 3%
   - ธุรกิจที่เป็นแฟรนไชส์ให้กับธุรกิจขนส่ง เช่น Kerry , J&T , Flash หากขนส่งจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งเท่านั้น แฟรนไชส์ผู้รับเงินถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
   - กรณีที่เป็นการเก็บเงินปลายทาง แฟรนไชส์ผู้รับเงินจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
   *** แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินค่าขนส่ง ค่าบริการ ค่าโฆษณาหรือค่าเช่า ฯลฯ
   หากผู้จ่ายเงินอยู่ในระบบ e-Withholding Tax อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะลดเหลืออัตรา 1%

FaLang translation system by Faboba