การจ่ายเงินไปต่างประเทศและ e-Service
โดย
|
|
การจ่ายเงินไปต่างประเทศและ e-Service
|
ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีจากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทยซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับมากกว่า 1.8 ล้านบาท) และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีดังกล่าว ไม่ถือว่าผู้ประกอบการมีสถานประกอบการถาวร (PE) ในประเทศไทย สำหรับกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศยังมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้บริการดังกล่าวตามแบบ ภ.พ. 36 โดยสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวไปใช้เป็นภาษีซื้อได้
หน้าที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากรแทนผู้ใช้บริการ ดังนั้น ผู้ใช้บริการที่เป็นประชาชนทั่วไปจะได้รับความสะดวก (ไม่ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบและนำส่งภาษีด้วยตนเอง) ผู้ประกอบการจดทะเบียนยังมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานภาษีขายตามแบบที่กรมสรรพากรกำหนดโดยให้ลงรายการในรายงานภาษีขายภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้ให้บริการ ให้เก็บรักษารายงานภาษีขายพร้อมทั้งเอกสารประกอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้ทำรายงาน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องส่งรายงานภาษีขายให้กรมสรรพากร หากกรมสรรพากรไม่ได้ร้องขอ อีกทั้ง ยังไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีตามกฎหมายของประเทศไทย (กรณีผู้ประกอบการหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้งที่กำหนดให้ต้องออกใบกำกับภาษี ก็สามารถออกใบกำกับภาษีได้)
|
|
|