พ.ร.บ.อุ้มหาย คืออะไร

โดย

 


 
พ.ร.บ.อุ้มหาย คืออะไร


     พ.ร.บ. อุ้มหายคืออะไร? มีไว้ทำไม
     พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทำร้ายและการกระทำที่ทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 หรือที่เรียกว่า "พ.ร.บ.อุ้มหาย" ถูกออกเพื่อป้องกันและปราบปรามการบีบบังคับ ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย และทำให้บุคคลสูญหาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วย เช่น ตำรวจ ทหาร ฯลฯ มีหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

     การกระทำที่เข้าข่ายความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ
     ความผิดที่เข้าข่ายผิดพรบ.ฉบับนี้ จะแบ่งด้วยกัน 3 มาตราดังนี้
          1. (มาตรา 5)ความผิดฐานกระทำทรมาณ
          คือเจ้าหน้าที่รัฐคนใด ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทรมาร อย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ เพื่อวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
               1.1 เพื่อรีดข้อมูล เค้นคำรับสารภาพ
               1.2 ลงโทษเพราะเหตุเกิดจากการกระทำ หรือสงสัยว่าทำ
               1.3 เพื่อข่มขู่ หรือขู่เข็น
               1.4 การเลือกปฏิบัติ เช่นการซ้อม การช๊อตไฟฟ้า

          2. (มาตรา 6) ความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
          เจ้าหน้าที่รัฐคนใด ลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีความเป็นมนุษย์ ที่ไม่ใช่การกระทำความผิดตามมาตรา 5 ถือว่ามีความผิดตามมาตรานี้ เช่น การพูดข่มขู่ให้หวาดกลัว ดูหมิ่นเหยียดหยาม การบังคับให้อดนอน การบังคับให้ใส่ปลอกคอสุนัข

          3.(มาตรา 7) ความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย
          เจ้าหน้าที่ของรัฐคนใด ควบคุมตัวหรือลักพาตัวบุคคลใด โดยที่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ทำ ปกปิดชะตากรรมหรือสถานที่ปรากฏตัวของบุคคล ซึ่งทำให้บุคคลนั้น ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จนส่งผลให้บุคคลนั้น ไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย เช่น การอุ้มหายนักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพล

          สาระสำคัญของ พ.ร.บ.นี้
          - พ.ร.บ.ฉบับนี้ สามารถบังคับใช้ภายนอกราชอาณาจักรได้ด้วย ตามมาตรา 8 ที่ระบุไว้ว่าผู้ใดกระทำความผิด ทำร้ายข่มขู่ หรือลักพาตัวอุ้มหาย “ภายนอกราชอาณาจักร” ต้องรับโทษเช่นกัน
          - มาตรา 10 คดีการลักพาตาม มาตรา 7 จะเป็นความผิดต่อเนื่อง จะกว่าจะรู้ชะตากรรมของบุคคลนั้น ไม่ว่าจะพบในสภาพที่มีชีวิตหรือเสียชีวิต และจะต้องสืบสวนจะรู้ตัวผู้กระทำผิด
          - ครอบครัวผู้เสียหาย สามารถร้องทุกข์แทนได้ ตามมาตรา 11 ระบุว่า”ผู้เสียหาย” รวมถึง สามี ภรรยา ผู้บุพการี ผู้อุปการะ ฯลฯ เป็นผู้เสียหายด้วย ซึ่งสามารถแจ้งความและร้องทุกข์แทนบุคคลสูญหายได้
          - มาตรา 22 ระบุว่า ในขณะปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องบันทึก VDO ภาพและเสียง อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มทำการจับกุมจนถึงส่งตัวให้กับพนักงานสอบสวน และจะต้องแจ้งพนักงานอัยการและนายอำเภอในท้องที่ โดยทันที

          บทลงโทษ(มาตรา 35)
          • ผู้กระทำผิดฐานกระทำการทรมาน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-15 ปี และปรับตั้งแต่ 1-3 แสนบาท
          • หากผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัส จะมีโทษหนักขึ้นจำคุก 10-25 ปี และปรับตั้งแต่ 2-5 แสนบาท
          • และจะต้องรับโทษหนักขึ้น หากถึงขั้นเสียชีวิต มีโทษจำคุก 15-30 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 3 แสน-1 ล้านบาท บทลงโทษ(มาตรา 36-37)
          • (มาตรา 36) ผู้กระทำผิดฐานกระทำการโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามมาตรา 6 จำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือทั้งจำทั้ง ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
          • (มาตรา 37) ผู้กระทำผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามมาตรา 7 5-10 ปี 1- 3 แสนบาทนอกจากโทษที่พูดถึงข้างต้น ยังระบุโทษถึง ผู้ให้การสนับสนุนเบื้องหลัง
          • ผู้สมรู้ร่วมคิด รวมถึงผู้บังคับบัญชาที่ทราบการกระทำผิดแต่ไม่ดำเนินคดี ซึ่งมีโทษหนักเบาต่างกันออกไป

 

FaLang translation system by Faboba