พิกัดอัตราศุลกากร HS Code
โดย
|
|
พิกัดอัตราศุลกากร HS Code
|
ระบบจำแนกประเภทและชนิดของสินค้า โดยองค์การศุลกากรโลก หรือ WCO ได้พัฒนาการจำแนกให้เป็นระบบเดียวกัน เรียกว่า ระบบฮาร์โมไนซ์ Harmonized System ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฮาร์โมไนซ์ และได้มีการตราเป็นพระราชกำหนด ฉบับที่ 1 เมื่อปี 2530 โดยมีการเริ่มใช้ระบบดังกล่าวในวันที่ 1 มกราคม 2531 ปัจจุบันเราใช้พิกัดศุลกากร ฉบับปี 2022 เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565
HS Code ประกอบด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก ประเทศไทยปรับมาใช้ระบบพิกัดตัวเลข 8 หลัก โดยเพิ่มประเภทพิกัดย่อย เข้ามาในปี 2550 เพื่อให้สอดคล้องกับระบบพิกัดฮาร์โมไนซ์ของอาเซียน (AHTN) ซึ่งองค์การศุลกากรโลก (WCO) มีข้อผ่อนผันให้ประเทศภาคีสมาชิกสามารถดำเนินการได้ HS Code สามารถแบ่งตัวเลขออกเป็นหมวดต่างๆได้ ดังนี้ เลข 4 ตัวแรก มาจากรหัสตัวเลข 6 หลัก ที่ประกาศใช้โดยองค์การศุลกากรโลก WCO โดย 2 ตัวแรก เป็นเลขของตอน 2 ตัวหลัง เป็นเลขของ ประเภท (ที่อยู่ในตอนนั้น) เลข 4 ตัวถัดมา (หลักที่ 5-8) เป็นเลขของ “ประเภทย่อย” ประกอบด้วย 2 ตัวแรก เป็น 2 ตัวที่เหลือจากรหัสตัวเลข 6 หลักของ HS Code 2 ตัวหลัง เป็นเลขของประเภทย่อย (ประเทศไทยใช้ระบบพิกัดศุลกากรอาเซียน (AHTN))
|
|
|