เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ลงเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ ?

โดย

 


 
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ลงเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ ?


    เบี้ยปรับ คือ เงินที่ต้องชดเชยความเสียหายให้แก่ภาครัฐ
    เงินเพิ่ม คือ เงินที่เร่งรัดให้ผู้เสียภาษีจ่ายภาษีให้ถูกต้องโดยเร็ว บริษัทหรือห้างหุุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบชำระภาษีหากไม่ได้ยื่นแบบหรือยื่นแต่ชำระไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน กิจการจะต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

    เบี้ยปรับ แบ่งเป็น 2 กรณี
        1) เคยยื่นแบบเพิ่มเติมมาแล้ว
        2) ไม่เคยยื่นแบบมาก่อน จะโดนค่าปรับเพิ่มอีก ส่วนเงินเพิ่มจะคิดในอัตราร้อยละ 1.5/เดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น
    ค่าปรับแบบ
        กรณี ภ.ง.ด. 1 , 3 , 53 : ยื่นภายใน 7 วัน หลังจากครบกำหนดยื่น(วันที่ 7) แบบละ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วันขึ้นไป แบบละ 200 บาท
        กรณี ภ.ง.ด. 50 , 51 : ยื่นภายใน 7 วัน หลังจากครบกำหนดยื่น (วันที่ 7) แบบละ 1,000 บาท ถ้าเกิน 7 วันขึ้นไป แบบละ 2,000 บาท

    เงินเพิ่ม การคำนวณเงินเพิ่ม
        กรณียื่นปกติ (เกินกำหนดเวลา) เงินเพิ่มคำนวณจากยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5 x ระยะเวลา (เดือน)
        กรณียื่นเพิ่มเติม เงินเพิ่มคำนวณจาก
            กรณี ภ.ง.ด. 1 , 3 , 50 , 53 : ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5 % x ระยะเวลา (เดือน)
            กรณี ภ.ง.ด. 51 : ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 20 %

    เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ค่าปรับทางอาญา
    กรณีค่าปรับ
        1.ค่าปรับจราจร
        2.ค่าปรับอื่น เช่น ค่าปรับตามสัญญาหากเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการลงเป็นค่าใช้จ่ายได้

    กรณีภาษีอากรทุกประเภท
    
1. ภาษีกรมสรรพากร
    2. ภาษีศุลกากร
    3. ภาษีสรรพสามิต
    4. ภาษีกรมการปกครอง
    5. ภาษีหน่วยงานอื่น
    ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ ต้องนำไปบวกกลับ

FaLang translation system by Faboba