ความหมายของเงินสด เงินสดย่อย และเงินกู้ยืมกรรมการ
โดย
 |
|
ความหมายของเงินสด เงินสดย่อย และเงินกู้ยืมกรรมการ
|
ความหมายของคำ 3 คำนี้ แตกต่างกันอย่างไร มาทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนครับ เงินสด โดยปกติแล้ว คำว่า “เงินสด” ในงบแสดงฐานะการเงินจะหมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมถึงเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด แต่สำหรับการทำธุรกิจและการทำบัญชีจะหมายถึง “เงินสด” จริง ๆ หรือเงินสด (ธนบัตรและเหรียญ) ที่อยู่ในมือของธุรกิจ ซึ่งความหมายของการไม่มีเงินสดของผมหมายถึงการไม่ใช้เงินสดในธุรกิจ แต่เลือกจะใช้ทุกอย่างผ่านเงินฝากธนาคาร 100% นั่นเองครับ
เงินสดย่อย ส่วนคำว่า “เงินสดย่อย” คือ เงินสดที่ใช้จ่ายในธุรกิจสำหรับค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ โดยไม่ต้องรอการอนุมัติจ่ายจากผู้มีอำนาจ โดยพนักงานสามารถขอเบิกสำหรับกิจกรรมประจำวันได้ เช่น ค่าขนส่ง ค่าเดินทาง ค่าถ่ายเอกสาร หรือค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ต้องจัดการแทนธุรกิจ ซึ่งปกติจะใช้วิธิการกำหนดวงเงินไว้ เช่น กิจการขนาดเล็กอาจจะกำหนดไว้ที่ 5,000 บาท และมีการกำหนดเวลาเบิกเงินสดย่อยโดยมีหลักฐานการใช้จ่ายประกอบตามที่กิจการกำหนดไว้
“เงินกู้ยืมกรรมการ” ตัวสุดท้าย “เงินกู้ยืมกรรมการ” โดยปกติจะมี 2 ฝั่ง คือ เงินของกิจการที่ให้เจ้าของกิจการยืม (ลูกหนี้กรรมการ) หรือเป็นเงินของเจ้าของกิจการเอามาให้กิจการกู้ (เจ้าหนี้กรรมการ) ซึ่งการเกิดขึ้นของรายการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของมีการเบิกจ่ายหรือเบิกใช้ในเรื่องส่วนตัว หรือหยิบยืมเงินจากธุรกิจ (ลูกหนี้) หรือธุรกิจมีเงินไม่พอหมุนเวียนจึงต้องมาหยิบยืมจากธุรกิจ (เจ้าหนี้)
จากบทความ : เงินสด เงินสดย่อย และเงินกู้ยืมกรรมการ กับการวางแผนการเงินของบริษัท โดย : TAX Bugnoms / Section : Tax Talk / Column : Tax Knowledge อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 21 ฉบับที่ 244 เดือนเมษายน 2567
|
|
|
|
|
|