“ปรับแนวตีความ” เงินได้จากต่างประเทศ
โดย
 |
|
“ปรับแนวตีความ” เงินได้จากต่างประเทศ
|
สืบเนื่องจาก คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.161/2566 ซึ่งยังมีคำถามข้อสังสัยหลายประการจากผลที่มีการเปลี่ยนแนวตีความจากเดิม และกรมสรรพากรได้มีแนวปฏิบัติที่ให้ความชัดเจนเพิ่มเติม จึงขอนำสรุปประเด็นสำคัญมา Update ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบ
- เงินได้ที่เกิดในต่างประเทศก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.161/2566 จะไม่ใช้บังคับ ดังนั้นจึงใช้หลักการเดิมคือ หากนำเงินได้นั้นเข้ามาในปีภาษีอื่นที่ไม่ใช่ปีภาษีที่เกิดเงินได้ ก็จะไม่ต้องนำเงินได้นั้นมาเสียภาษี เช่น เงินได้ที่เกิดในต่างประเทศในปี 2566 และผู้มีเงินได้อยู่ในประเทศไทยในปี 2566 รวมถึง 180 วัน หากนำเงินได้นี้เข้ามาในไทยในปี 2566 ก็จะต้องนำมาเสียภาษีในไทย แต่หากนำเงินได้นั้นเข้ามาในไทยในปี 2567 ก็จะไม่ต้องนำมาเสียภาษี
- เงินได้ที่เกิดในต่างประเทศตั้งแต่ 1 มกราคม 2567
2.1 กรณีมีเงินได้ที่เกิดในต่างประเทศและในปีเดียวกันผู้มีเงินได้อยู่ในประเทศไทยรวมไม่ถึง 180 วัน ไม่ต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณภาษี ไม่ว่าจะนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในในปีไหน
2.2 กรณีมีเงินได้ที่เกิดในต่างประเทศและในปีเดียวกันผู้มีเงินได้อยู่ในประเทศไทยรวมถึง 180 วัน จะต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณภาษีเมื่อนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย ไม่ว่าจะนำเข้ามาในปีไหน และมีประเด็นดังนี้
2.2.1 การนำเงินได้เข้ามาหากเป็นเงินต้นหรือเงินลงทุนรวมดอกเบี้ยหรือปันผลรวมกัน ก็ให้นำมาเสียภาษีเฉพาะดอกเบี้ยหรือเงินปันผลที่นำเข้ามาเท่านั้น
2.2.2 กรณีนำเงินไปซื้อหุ้นที่ต่างประเทศ ไม่ว่าราคาหุ้นจะขึ้นอย่างไร ถ้ายังไม่มีการขายก็ยังไม่ถือว่าเกิดเงินได้ หากขายเมื่อใดแล้วมีกำไร ก็จะถือปีที่ขายเป็นปีที่เกิดเงินได้ ถ้าผู้มีเงินได้ปีนั้นอยู่ในไทยรวมถึง 180 วัน ก็จะต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณภาษีในปีที่นำกำไรนี้เข้ามาในประเทศไทย (ไม่ว่าจะนำเข้าในปีใด)
จากบทความ รับมือกรมสรรพากร “ปรับแนวตีความ” เงินได้จากต่างประเทศ Section: TaxTalk / Column: Tax Vision อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 43 ฉบับที่ 509 เดือนกุมภาพันธ์ 2567 หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index
|
|
|
|
|
|
|
|
 |