"ลาออก""ไล่ออก""เลิกจ้าง"แตกต่างกันอย่างไร?

โดย

 


 
"ลาออก""ไล่ออก""เลิกจ้าง"แตกต่างกันอย่างไร?


     การ"ลาออก"คืออะไร?
     การลาออกเป็นการแสดงเจตนายุติสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง ลูกจ้างเมื่อต้องการลาออก สามารถแจ้งนายจ้างจะทำด้วยวาจา หรือทำเป็นหนังสือ หรือส่งทางอีเลคทรนิกส์ อีเมล ไลน์ ก็ได้ ที่สำคัญ การลาออกของลูกจ้าง ต้องเกิดความความยินยอมสมัครใจ ของลูกจ้าง โดยที่ลูกจ้าง ไม่ถูกข่มขู่ หลอกลวงจากนายจ้าง HR ผจก.หัวหน้างาน การพิจารณาถึงความไม่ยินยอม หรือ ถูกขู่ หลอกลวง ต้องพิจารณากรณีๆไป สิ่งที่ต้องรู้คือการลาออก ไม่ใช่การเลิกจ้าง เพราะฉะนั้นลูกจ้าง จะไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆในการลาออกเลย

     การ"เลิกจ้าง"คืออะไร?
     - คือ การยุติสัญญาในการจ้างงานตามกฎหมาย ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้ลูกจ้างยุติการทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างอีกต่อไป นายจ้างสามารถสั่งให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีโดยไม่ต้องมาทำงาน อีกต่อไป แต่ต้องให้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือที่เรียกกันว่า “ค่าตกใจ” โดยแบ่งเป็นกรณีดังนี้

     "ให้ออก"
     
- เป็นกรณีที่นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ได้ทำผิดวินัย ทำตามแนวปฏิบัติ ถูกต้อง เป็นธรรม ชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติ แต่พิจารณาเห็นว่าไม่เป็นการสมควรที่จะทำงานให้กับนายจ้างอีกต่อไป เช่น หย่อนสมรรถภาพ มีปัญหาด้านสุขภาพ บริษัทเลิกกิจการ เป็นต้น ซึ่งจะต้องไม่ใช่ "การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม" (มาตรา 49)

     "ปลดออก"
     
- กรณีนี้นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้างที่ผิดวินัยแต่ไม่ร้ายแรง ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ละทิ้งการงาน เป็นกระทำความผิดอย่างร้ายแรง หรือการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างสามารถไล่ออกโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ เป็นต้น

     "ไล่ออก"
     
- กรณีนี้นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้างที่ทำผิดวินัยร้ายแรง จนส่งผลกระทบรุนแรงแก่นายจ้าง (มาตรา 119) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
     1.ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
     2.จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
     3.ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
     4.ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง
     5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร
     6 ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

FaLang translation system by Faboba