ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้
โดย
|
|
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้
|
1. ภาษีซื้อสำหรับค่ารับรอง ตามมาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่นๆทำนองเดียวกัน รวมทั้งค่าสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการหรือให้บุคคลอื่น
2. ภาษีซื้อสำหรับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน รวมทั้งภาษีซื้อสำหรับสินค้าหรือค่าบริการที่เกี่ยวกับรถยนต์ดังกล่าว เช่นภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือ การรับโฮนรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนและการซื้อสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ดังกล่าว ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพาสามิต - บังคับเฉพาะรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 คน
3. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามมาตรา 86/6 และมาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากใบกำกับภาษีซื้อเหล่านี้ไม่ได้ระบุชื่อของผ฿ซื้อไว้ จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นของเราจริง และทำให้ขาดความน่าเชื่อถือจึงไม่สามารถขอคืนภาษีได้ แต่สามารถลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้ทั้งก้อน เช่น ซื้ออาหารสำหรับพนักงานจาก 7-11 และได้ใบกำกับภาษีอย่างย่อมา
4. ภาษีสำหรับทรัพย์สินหรือรายจ่ายในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการที่ยังไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะยังไม่เข้าเงื่อนไขแต่ได้ไปซื้อสินค้ามาจากร้านค้าที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. ภาษีซื้อจากการเฉลี่ยในส่วนที่เป็นของกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรรมสรรพากร – การเฉลี่ยภาษีซื้อในกิจการที่มีรายการขาย/บริการ ทั้งที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม
6. ภาษีซื้อสำหรับสินค้าหรือบริการที่ต้องใช้ในกิจการทั้งที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งรายได้ในส่วนที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่น้อยกว่า 90% และผู้ประกอบการจดทะเบียนเลือกใช้สิทธิไม่เฉลี่ยภาษีซื้อ
7. ภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและต่อมาไม่เกิน 3 ปี นับแต่เดือนที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ได้ขายหรือให้เช่าหรือนำไปใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
8. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่รายการ “ใบกำกับภาษี” ไม่ได้ตีพิมพ์หรือจัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ ตามมาตรา 86/4(1) แห่งประมวลรัษฎากร
9. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่รายการ “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี” ไม่ได้ตีพิมพ์หรือจัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ ตามมาตรา 86/4(2) แห่งประมวลรัษฎากร
10. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ใบกำกับภาษีไม่ใช่เอกสารฉบับแรก และรายการ “เอกสารออกเป็นชุด” ไม่ได้ตีพิมพ์หรือจัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ ตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร
11. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปของสำนักงานใหญ่ที่สาขานำไปออกโดยไม่มีรายการ “สาขาที่ออกใบกำกับภาษีคือ...”
12. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ที่ออกโดยผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน โดยไม่มีรายการ “เลขทะเบียนรถยนต์”
13. ภาษีซื้อตามสำเนาใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เว้นแต่ใบกำกับภาษีที่ไม่ใช่ฉบับแรกซึ่งมีรายการ “เอกสารออกเป็นชุด”
14. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่รายการในใบกำกับภาษีได้ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลง เว้นแต่รายการดังต่อไปนี้ (1) การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี เนื่องจากทางราชการได้ประกาศปลี่ยนแปลงเลขที่ ถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด โดยลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข หรือประทับด้วยตรายางภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ทางราชการประกาศเปลี่ยนแปลง (2) การแก้ไขเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี โดยลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข หรือประทับตรายางภายใน 1 ปี นับแต่วันที่กรมสรรพากรได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการดังกล่าวใหม่
|
|
|