ความแตกต่างของบัญชีภาษีอากร-บัญชีการเงิน

โดย

 


 
ความแตกต่างของบัญชีภาษีอากร-บัญชีการเงิน


พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 กำหนดวิชาชีพบัญชีออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการทำบัญชี 2. ด้านการสอบบัญชี 3. ด้านการบัญชีบริหาร 4. ด้านการวางระบบบัญชี 5. ด้านการบัญชีภาษีอากร และ 6. ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี การบัญชีภาษีอากรจึงประกอบด้วยการบัญชีและภาษีอากร

การบัญชีภาษีอากร หมายถึง กระบวนการจัดทำบัญชีของกิจการตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนข้อมูลทางบัญชีบางรายการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ รวมทั้งการจัดทำรายการที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร การจัดเก็บเอกสารหลักฐาน การจัดทำบัญชีพิเศษ และรายงานต่าง ๆ ตามที่กฎหมายภาษีอากรกำหนด

ความแตกต่างระหว่างการบัญชีภาษีอากรกับการบัญชีการเงิน
การบัญชีภาษีอากรกับการบัญชีการเงินมีความแตกต่างกัน เนื่องจากข้อกำหนดในการจัดทำตามกฎหมายมีความแตกต่างกันดังนี้

ข้อพิจารณา

การบัญชีภาษีอากร

การบัญชีการเงิน

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำข้อมูลทางการค้าที่เกี่ยวกับภาษีอากรของกิจการที่ต้องชำระให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี รวมทั้งจัดทำรายงานและบัญชีพิเศษตามที่กฎหมายภาษีอากรกำหนด

เพื่อเสนอข้อมูลฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงทางการเงินของกิจการให้แก่บุคคลภายนอกและผู้ที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์ในการจัดทำ

เกณฑ์ตามประมวลรัษฎากร

เกณฑ์ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

การวัดมูลค่า

- ใช้ราคาทุนเป็นหลัก

- สำหรับสินค้าคงเหลือ วัดค่าตามราคาทุนหรือราคาตลาด แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า

- ราคาทุนเดิม

- มูลค่ายุติธรรม

- ราคาทุนปัจจุบัน

กฎหมายที่บังคับใช้

ประมวลรัษฎากร

พระราชบัญญัติการบัญชี 2543

รายงานที่ต้องจัดทำ

แบบแสดงรายการบัญชีเพื่อเสียภาษี

- ภ.ง.ด.50

- ภ.ง.ด. 51

- ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.2ก, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 ฯลฯ

- ภ.พ.30, ภ.พ. 36 และแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

- รายงานภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

- บัญชีพิเศษ

รายงานทางการเงิน

- งบแสดงฐานะการเงิน

- งบกำไรขาดทุน

- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

- งบกระแสเงินสด

- หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ผลการดำเนินงานที่ใช้

กำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร โดยปรับปรุงกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชีให้เป็นกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรตามหลักประมวลรัษฎากร

กำไรหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี

 

บางส่วนจากบทความ : “นักบัญชีต้องรู้ดีในเรื่องภาษีอากร”
Section: Smart Accounting/ Column: Accounting Update
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 41 ฉบับที่ 487 เดือนเมษายน 2565
หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index

 

FaLang translation system by Faboba